โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

“ดวงตา เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของคนเรา แต่หากตาคู่นั้นอาจเสื่อมลงในวัยสูงอายุ คุณเคย คิดไหมว่า หากย้อนเวลา เราจะรับมืออย่างไร"

โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular degeneration) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการเสื่อมของบริเวณ จุดภาพชัดของจอตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ หากพบในผู้มีอายุ50 ปี ขึ้นไป จะเรียกว่า “โรค จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ” (Age related Macular degeneration) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุส าคัญที่ทำให้ กลุ่มผู้สูงอายุสูญเสียการมองเห็น โดยจะทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะภาพตรงส่วนกลาง โดยที่ภาพด้านข้างของ การมองเห็นยังดีอยู่ เช่น คุณอาจเห็นขอบของนาฬิกา แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นเวลาอะไร 



ผู้ที่มีโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม อาจไม่มีอาการในระยะเริ่มต้น ถ้าบริเวณที่เสื่อมมีขนาดเล็กมาก และ หากจุดภาพชัดของตาอีกข้างยังปกติ เมื่อใช้ตา 2 ขัางร่วมกัน ผู้ป่วยอาจไม่สังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลง ต่อมาเมื่อ ความเสื่อมมากขึ้นจึงมีอาการมองภาพไม่ชัด เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำ หรือจุดบอดที่บริเวณส่วนกลางภาพใน ที่สุด โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ดังนั้น โดยตัวของโรคจอประสาทตาเสื่อม จะไม่ทำให้การมองเห็นมืดสนิทไปทั้งหมด แม้แต่ในรายที่เป็นมาก คนไข้จะยังพอมองเห็นทางด้านขอบข้างของภาพ และพอที่จะช่วยเหลือดูแลตัวเองได้บ้าง ท่านสามารถตรวจจุดภาพชัดเบื้องต้นโดย Amsler Grid 

 

โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การเสื่อมสภาพของ ร่างกายตามวัย ซึ่งโดยธรรมชาติสัดส่วนของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายของคนเราจะแปรผันไปตามอายุที่มากขึ้น ทำให้มีการสะสมของอนุมูลอิสระและเกิดการเสื่อมของส่วนต่างๆในร่างกายมากขึ้นโดยเฉพาะที่จอตา และจะมีความ เสี่ยงสูงขึ้นหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน มีพฤติกรรมการใช้สายตาที่ต้องเผชิญกับแสงแดด นานๆ หรือมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วย จากหลักฐานทางการแพทย์พบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคจุดภาพ ชัดที่จอตาเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และมีโอกาสเกิดโรคนี้เร็วกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 ปี นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่ป่วยเป็น โรคความดันโลหิตสูงและมีระดับไขมันในเลือดสูง รวมถึงสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้กินฮอร์โมนทดแทน ก็พบว่า มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นโรคนี้เช่นกัน



2 แบบของโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ 

  1. แบบแห้ง เกิดจากการเสื่อมและบางตัวลงของบริเวณศูนย์กลางรับภาพของจอตา ทำให้การมองเห็น ค่อย ๆ ลดลง โดยที่อาการของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ 
  2. แบบเปียก พบได้ประมาณ 15-20% ของโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อม โดยมีเส้นเลือดผิดปกติงอกขึ้นมาใหม่ หากเส้นเลือดที่งอกใหม่นี้เปราะบาง จะเกิดการรั่วซึม ทำให้จุดภาพชัดบวม มองเห็นภาพบิดเบี้ยว และสูญเสียการมองเห็นในส่วนกลางในที่สุด 

 

ปัญหาของโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่คนไข้มักจะไม่รู้ตัวว่า มีอาการของโรคดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากากรเสื่อมอาจเกิดในตาข้างเดียว หรือเสื่อมไม่เท่ากันในการทั้ง 2 ข้าง ทำให้การมองเห็นโดยรวมยังดีอยู่ จนกว่าจะมีการเสื่อมที่ค่อนข้างมากแล้วจึงจะ สังเกตได้ว่าการมองเห็นผิดไปจากเดิม เช่น ตาพร่ามัวลง ความชัดเจนในการมองเห็นลดลง มองเห็นภาพบิดเบี้ยว มองเห็นตรงกลางของภาพไม่ชัดเจน ดังนั้นถ้าพบความผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ อย่านิ่งนอนใจ เนื่องจากการตรวจพบและรักษาในระยะแรก จะป้องกันการเกิดจุดบอดที่จุดภาพชัดได้

 

หลากวิธีรักษาและถนอมดวงตา 

โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมนั้นมีการรักษาหลายวิธี ทั้งการรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ การฉีดยาเพื่อยับยั้ง เส้นเลือดใหม่ที่งอกขึ้นมา หรือแม้กระทั่งการผ่าตัด เหล่านี้สู้การดูแลสุขภาพดวงตาตั้งแต่ยังหนุ่มสาวไม่ได้ ซึ่ง นับเป็นหนทางที่ดีที่สุด สรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  1. งดสูบบุหรี่ 
  2. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัดเป็นประจำ หรือถ้าจำเป็นควรใช้แว่นตากันแดดที่มีการกรองแสงยูวี
  3. ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่กินอาหารที่มีไขมันสูง ควรเพิ่มการกินผักใบเขียวและผลไม้ทุกวัน
  4. การตรวจสุขภาพตาเป็นประจ าทุก 1-2 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แม้ไม่มี อาการผิดปกติ ใด ๆ แต่ก็เริ่มจะมีปัญหาเรื่องสายตาเปลี่ยนแปลง หรืออาจมีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับดวงตาที่ไม่ แสดงอาการอย่างอื่น เช่น ต้อหิน ต้อกระจก การตรวจพบและให้การรักษาโรคตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถเยียวยา ให้ดวงตาสามารถใช้งานได้ต่อไป 

ทดสอบสภาพจอตาด้วยตารางตรวจจุดภาพชัด (Amsler Grid) 

จักษุแพทย์จะแนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีโอกาสเกิดโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม หรือผู้ที่เป็นโรคจุดภาพชัดที่ จอตาเสื่อมแล้ว ทดสอบสภาพจอตาเป็นประจำด้วยการมองตารางตรวจจุดภาพชัด (Amsler grid) โดยสามารถทำการทดสอบได้ด้วยตนเอง ดังนี้

 

  1. เมื่อจะทดสอบการมองเห็น ไม่ต้องถอดแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ที่ใส่อยู่ออก
  2. มองแผ่นภาพนี้ในระดับสายตา บนผนังที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  3. ถือแผ่นภาพตารางประมาณ 14 นิ้ว ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งไว้ มองที่จุดตรงกลางแผ่นภาพ ด้วยตาข้างที่ เปิดอยู่
  4. ขณะที่จ้องจุดตรงกลางนี้ให้สังเกตว่าตารางสี่เหลี่ยมที่เห็นเป็นเส้นตรงหรือไม่ และมีขนาดเท่ากัน หรือไม่
  5. ถ้าพบว่าส่วนไหนของตารางไม่ชัด หรือโค้งเป็นลักษณะคลื่น บิดเบี้ยว ขาดจากกัน พร่ามัว หรือบาง พื้นที่หายไปจากพื้นที่ที่มองเห็น หรือมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับการตรวจครั้งสุดท้าย ควรพบจักษุแพทย์ทันที
  6. ทำการทดสอบซ้ำเช่นเดียวกับตาอีกข้าง 

"หากหมั่นใส่ใจเสียแต่วันนี้ สุขภาพตาต้องดีครับ"

ที่มาของข้อมูล: รศ.นพ.ณัฐวุฒิ รอดอนันต์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

รูปประกอบจาก: https://www.freepik.com

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า