5 เทคนิค สื่อสารกับผู้สูงอายุอย่างไรให้เข้าใจ

การสื่อสารกับผู้สูงอายุนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับปัญหาทางร่างกาย และจิตใจหลายอย่าง ส่งผลต่อการสื่อสาร ดังนั้น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จึงช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่นใจ เข้าใจ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้หากญาติ ลูกหลาน หรือผู้ดูแลรู้เทคนิคในการสื่อสารก็จะช่วยลดปัญหาความเข้าใจ รวมถึงช่องว่างระหว่างวัยภายในครอบครัวได้อีกด้วย

  1. ปรับการพูดให้เหมาะสม

เนื่องจากผู้สูงอายุอาจมีปัญหาเรื่องการได้ยินหรือประมวลผลข้อมูลช้าลง การพูดช้าๆ ชัดๆ เสียงดังฟังชัด แต่ไม่ตะโกน จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และพยายามใช้คำพูดที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายไม่ใช้ศัพท์แสลง เป็นต้น

2. ใช้ภาษากายร่วมด้วย

การใช้คำพูดบางครั้งอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้น อาจจะต้องมีการใช้ภาษากายร่วมด้วย เช่น สบตา แสดงถึงความสนใจและตั้งใจฟัง , การยิ้ม แสดงถึงมิตรไมตรีและความเป็นกันเอง และคอยสังเกตท่าทางว่าผู้สูงอายุเข้าใจหรือไม่ หรือกำลังเบื่อหรือไม่

3. อดทน และ ใจเย็น

ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้สูงอายุทุกท่านอายุมากแล้ว มีสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงความคิด การวิเคราะห์ และการทำความเข้าใจในเรื่องต่างจะมีความช้าลง ดังนั้นในการสื่อสารกับท่านจำเป็นจะต้องมีความอดทน ค่อยๆพูด ค่อยๆคุย ค่อยๆอธิบาย ด้วยความใจเย็นไม่โมโห และควรพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน นอบน้อมเสมอ

4. สร้างบรรยากาศที่ดีในการพูดคุย

คุยพูดคุยกับผู้สูงอายุ ในสถานที่ๆเงียบสงบ ไม่มีเสียงรบจนเกินไป ซึ่งระหว่างการสนทนา ควรปิด โทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งรบกวนอื่นๆ ควรพูดคุยในที่ๆแสงสว่างเพียงพอ เพื่อให้ท่านสามารถอ่านปาก สีหน้าระหว่างการสนทนาของผู้สนทนา จะช่วยให้ท่านเข้าใจเรื่องที่สนทนามากขึ้น

5. เปลี่ยนประโยคคำสั่ง เป็นประโยคบอกเล่า

เทคนิคนี้สามารถใช้ได้กับการสื่อสารทุกช่วงวัย เพราะการใช้คำพูดในแกมสั่งสอน หรือบังคับ จะทำให้ผู้ฟัง รู้สึกต่อต้าน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุหลายๆท่าน แล้วคำพูดแกมสั่งสอนอาจจะไปด้อยค่าทางความรู้สึกของท่านอีกด้วย ข้อความเดียวกันหากเปลี่ยนวิธีพูด อาจจะให้ผลลัพธ์ที่แต่งต่างกัน เช่น “อย่าลืมกินยานะ” เป็น “เตรียมยาหลังอาหารไว้ให้แล้วนะ” เป็นต้น

การสื่อสารกับผู้สูงอายุ จุดประสงค์ไม่เพียงแต่เพื่อการสื่อสารสนทนาอย่างเดี่ยวเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าพวกเขาได้รับความสนใจ เข้าอกเข้าใจ และไม่เป็นส่วนเกินของครอบครัว และนี่ก็เป็น 5 เทคนิคง่ายที่ช่วยในการสื่อสารกับผู้สูงอายุ ให้เป็นไปได้อย่างราบรื่นและเข้าใจมากขึ้น ใครที่ที่บ้านมีผู้สูงอายุ สามารถเอาเทคนิคนี้ไปลองปรับใช้ดูนะคะ


ที่มาของรูปภาพ : https://www.freepik.com/

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า