ปัจจุบัน เรามักจะเห็นข่าวมากมายเกี่ยวกับการหลอกลวงผ่านโซเชียลฯ จากเหล่ามิจฉาชีพอยู่บ่อยๆ มิจฉาชีพออนไลน์มักใช้ลิงค์อันตรายในการหลอกลวงผู้ใช้งานให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมต่างๆ เช่น การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล การหลอกลวงทางการเงิน หรือการติดตั้งมัลแวร์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ เนื่องจากอาจไม่เข้าใจถึงกลโกงต่างๆ ทางออนไลน์
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการท่องโลกออนไลน์ของผู้สูงอายุ เรามีวิธีการสังเกตลิงค์ปลอม เพื่อป้องกันการถูกมิจชาชีพหลอกมาฝากกัน
- ตรวจสอบโดเมนเนม
โดเมนเนมเป็นที่อยู่ของเว็บไซต์ โดยปกติแล้วโดเมนเนมจะประกอบด้วยชื่อเว็บไซต์และนามสกุล เช่น www.google.com นามสกุลของโดเมนเนมมักจะบอกประเภทของเว็บไซต์ เช่น .com หมายถึงเว็บไซต์เชิงพาณิชย์ .org หมายถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร .edu หมายถึงสถาบันการศึกษา เป็นต้น
ลิงค์อันตรายมักจะใช้โดเมนเนมที่ไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ เช่น โดเมนเนมที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “www.” เพียงคำเดียว โดเมนเนมที่ขึ้นท้ายด้วยนามสกุลที่แปลกๆ เช่น .xyz .net.in เป็นต้น
2. ตรวจสอบข้อความของลิงค์
ลิงค์อันตรายมักจะใช้ข้อความที่ดึงดูดความสนใจ เช่น “ฟรี” “ส่วนลด” “รางวัล” เป็นต้น หรือใช้ข้อความที่สร้างความกลัวหรือวิตกกังวล เช่น “ข้อมูลของคุณถูกแฮ็ก” “บัญชีของคุณถูกระงับ” เป็นต้น
3. ระวังข้อความที่รักษาความลับ:
เหตุผลสำคัญที่ทำให้องค์กรต่าง ๆ เลือกที่จะส่งลิงค์ไปให้ผู้บริโภค คือ กระตุ้นให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทางการตลาด เช่น โฆษณาสินค้าให้เป็นที่รู้จัก เพิ่มรายได้จากการขายสินค้า เพิ่มจำนวนคนติดตามใน LINE OA เก็บข้อมูลด้านพฤติกรรมผู้บริโภคไปพัฒนาสินค้าใหม่ เชิญชวนให้สมัครสมาชิก เป็นต้น ซึ่งจะเก็บข้อมูลตามความจำเป็นเท่านั้น เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ซึ่งมิจฉาชีพอาจจะใช้ช่องทางนี้มาเพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัว หากลิงก์ไหนที่ต้องการข้อมูลส่วนตัวมากเกินความจำเป็น, เช่น ข้อมูลบัญชีธนาคารหรือรหัสผ่าน, ควรปิดเว็บไซต์ทันที ไม่ควรป้อนข้อมูลสำคัญผ่านทางลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ.
4. ลิงค์อันตรายชอบชวนให้โหลดแอป
เป้าหมายมิจชาชีพส่วนใหญ่คือการหลอกเอาเงิน เช่นหลอกดูดเงินในบัญชี วิธีที่จะทำให้เข้าถึงแอปธนาคารของเหยื่อได้ คือ ทำให้เหยื่อกดลิงค์ที่ถูกส่งมาทาง SMS แล้วติดตั้งแอปพลิเคชั่นควบคุมโทรศัพท์จากระยะไกล หรือแอปผิดกฎหมายที่เป็นไฟล์ APK ให้ได้ ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวได้รับลิงค์ทางข้อความ ที่กดเข้าไปแล้วบังคับให้ต้องดาวน์โหลดแอปเพิ่มเติม ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่านั่นเป็นลิงค์อันตรายจากมิจฉาชีพ ควรหลีกเลี่ยงการกดดาวน์โหลดและติดตั้ง
5. ระมัดระวังในการคลิกลิงค์ที่มาจากแหล่งที่ไม่รู้จัก
สิ่งสำคัญคือต้องระมัดระวังในการคลิกลิงค์ที่มาจากแหล่งที่ไม่รู้จัก หรือลิงค์ที่ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จักหรือไว้ใจ หากพบเห็นลิงค์ที่สงสัยว่าเป็นลิงค์ปลอม ไม่ควรคลิกลิงค์ดังกล่าว และควรแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ทั้งนี้การรู้วิธีสังเกตุลิงค์ปลอมนี้เป็นเพียงข้อมูลช่วยเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุป้องกันตัวเองจากการถูกหลอกลวงทางออนไลน์ได้ซึ่งอาจจะไม่ทั้งหมด เพราะมิจชาชีพอาจจะมีวิธีการใหม่ๆมาเพื่อหลอกลวงของเราได้อีก ดังนั้นหมั่นคอยอัพเดตข่าวสารอยู่เสมอ
ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/