โพรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร?
โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่อยู่ในลำไส้ มักพบในอาหารหมักดอง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ มีคุณสมบัติช่วยกำจัดจุลินทรีย์ไม่ดีในลำไส้ออกไป ทำให้ลำไส้แข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหารให้มีประสิทธิภาพ
แหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติก มักพบใน โยเกิร์ต ผักดอง กิมจิ กระหล่ำปลีดอง และขนมปังที่มีรสชาติเปรี้ยวและไวน์บางชนิด เป็นต้น
ประโยชน์ของโพรไบโอติก (Probiotic) ที่ดีต่อร่างกาย
ช่วยลดอาการ Depress ที่เกิดขึ้น
งานศึกษาในปี 2017 พบว่า สารโพรไบติกช่วยลดอาการวิตกกังวลได้ โดยสารโพรไบโอติก จะสัมพันธ์กับระบบทางเดินอาหารและสมอง ช่วยทำให้อารมณ์ดีลดอาการกังวลได้
ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย
โพรไบโอติกสามารถกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างภูมิต้านทานชนิด gA ที่ระบบทางเดินอาหาร ช่วยท้องกันภาวะท้องเสียและติดเชื้อในช่องท้องได้ อีกทั้งยังลดอาการติดเชื้อในส่วนอื่นๆของร่างกายได้ เช่น การติดเชื้อในลำไส้ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือดนอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นพบว่า โพรไบโอติก ชนิดแลคโตบาซิล ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ ลดภูมิแพ้และบรรเทาโรคที่เกิดจากทางเดินหายใจ ลดอาการผื่นแพ้ในเด็ก
ช่วยบรรเทาอาการท้องร่วง ท้องเสีย
อาการท้องร่วงท้องเสีย มักเกิดจากอาการติดเชื้อของแบคทีเรียในลำไส้ จากงานศึกษาต่างประเทศ พบว่าโพรไบโอติกที่เป็นแบคทีเรียชนิดดีในร่างกาย สามารถรักษาโรคท้องเสียฉับพลันได้ ซึ่งระบุว่า หากทานสารอาหารที่มีโพรไบโอติก จะช่วยลดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ได้ 42% และยังสามารถลดความเสี่ยงจากการท้องร่วงระหว่างเดินทางท่องเที่ยวได้ถึง 8% ซึ่งโพรไบโอติกที่ลดอาการท้องเสียได้ จัดอยู่ในแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)
ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจแข็งแรง
โพรไบโอติกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ โดยช่วยลดความดันโลหิตและลดคอเรสเตอรอลชนิด LDL ในงานศึกษาของต่างประเทศพบว่า การรับประทานโยเกิร์ตติดต่อกัน 2 – 8 สัปดาห์ จะช่วยลดคอเรสเตอรอลชนิด LDL 5%
นอกจากนี้ ในงานศึกษาอื่นๆ ยังพบว่า การรับประทานสารอาหารโพรไบโอติก ติดต่อกัน 6 เดือน ไม่ได้มีผลต่อ LDL แต่กลับทำให้จำนวน คอเรสเตอรอลชนิด HDL (ไขมันดี) เพิ่มขึ้นแทน อีกทั้ง การรับประทานอาหารเสริมที่มีโพรไบโอติกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ยังช่วยลดความดันในเลือดได้
ปัจจุบันสารอาหารอย่างโพรไบโอติกและพรีไบโอติก ถูกพัฒนามาในรูปแบบอาหารเสริมมากขึ้น เช่น แคปซูลแบบเม็ด และไฟเบอร์ชง ซึ่งเรื่องสรรพคุณเกี่ยวการกระตุ้นการขับถ่าย แก้ท้องผูก อย่างไรก็ตาม ในงานศึกษาเกี่ยวกับโพรไบโอติกที่ผ่านมา เป็นเพียงงานศึกษาโพรไบโอติกเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
นอกจากนี้ ยังไม่แนะนำให้รับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกในรูปแบบของยารักษา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดส่วนใหญ่ยังไม่มีการรับรองทางแพทย์อย่างเป็นทางการ หากเลือกรับประทานควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวสรรพคุณและส่วนผสมของแบรนด์นั้นๆ อย่างละเอียด