อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินควรมีวิธีการเลือกอย่างไร? ให้เหมาะสมและปลอดภัย

ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้นร่างกายของคนเราจะไม่สามารถใช้การได้เหมือนเดิม ซึ่งจะถดถอยตามสภาพของร่างกายของแต่ละบุคคล บางรายอาจจะสามารถพยุงร่างกายได้ บางรายอาจจะไม่สามารถพยุงร่างกายได้ ดังนั้น เครื่องช่วยพยุงเดินจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ

แม้กระทั่งผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการพยุงตัว เราจึงมีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อให้เหมาะกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

.

วันนี้เราจะมาทราบประเภทและหน้าที่ของอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินทั้ง 5 ประเภท กันค่ะ 

  1. แบบไม้ค้ำ

อุกรณ์นี้จะมีหน้าที่ช่วยให้การนั่งและยืนมีความมั่นคง สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้ถึง 80% แต่ผู้ใช้จะต้องมีช่วงแขนและไหล่ที่แข็งแรง พอที่จะทานน้ำหนักของตัวเองเวลาลุกหรือนั่ง และอุปกรณ์นี้ยังมีข้อเสียตรงที่มีโอกาสที่จะทำให้เสียการทรงตัวและล้มลงได้ค่อนข้างมาก

2. แบบโครงเหล็กช่วยเดิน

อุปกรณ์นี้จะมีความยาวประมาณครึ่งลำตัวหรือสูงถึงช่วงต้นขา ลักษณะเป็นโครงสี่เหลี่ยมล้อมผู้ใช้ด้านหน้า  มีสี่ขา สามารถใช้ค้ำยันได้หลากหลายอิริยาบถกว่าแบบค้ำยันรักแร้ มีน้ำหนักเบา ทำจากวัสดุหลากหลาย ทั้งไม้ พลาสติก โลหะ ไปจนถึงสเตนเลส ช่วยพยุงร่างกายได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่ยังพอเคลื่อนไหวเองสะดวก มักจะใช้เป็น อุปกรณ์ช่วยพยุงเข่า พยุงเท้า หรือข้อเท้า

3. แบบอุปกรณ์ช่วยพยุงหลัง

อุปกรณ์นี้มีทั้งแบบช่วยพยุงส่วนล่าง ส่วนเอว และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ที่นิยม 3 แบบดังนี้

  • แบบป้องกันการแอ่นหลัง ใช้ได้กับทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่ยกของหนัก หรือผู้ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง โดยอุปกรณ์นี้จะช่วยพยุงหลังส่วนล่างเท่านั้น
  • แบบพยุงอกและเอว เหมาะกับผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังแตกหรือเคลื่อน ตัวอุปกรณ์จะมีความกว้างประมาณหลังส่วนล่าง ด้านหน้ากว้างครอบคลุมบริเวณอก และมีสายพาดไหล่
  • แบบป้องกันการก้ม อุปกรณ์แบบนี้เป็นแบบที่นิยมที่สุด มีความพิเศษที่มีโครงเหล็กรูปวงกลมตรงด้านหน้าแถวกลางลำตัว เหมาะกับผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังส่วนหน้าแตก และยุบตัว

4. แบบไม้เท้า

อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวไม่มากหรือชั่วคราว และยังพอเดินเองได้อยู่ นิยมใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงเท่านั้น ไม้เท้าแบบนี้มีให้เลือกมากมายหลากหลายแบบ ตามความชอบและความสะดวกของผู้ใช้

5. แบบรถเข็นช่วยเดิน

อุปกรณ์นี้เหมาะกับผู้สูงอายุที่พอจะเดินเองได้และไม่สะดวกในการใช้ไม้เท้า เนื่องจากตัวรถเข็น

มีทั้งที่นั่งพัก มีด้ามจับ เบรก ล้อ และที่สำคัญยังสามารถช่วยพยุงเดินและลุกนั่งได้เป็นอย่างดี

 

อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ช่วยพยุงเดินควรจะศึกษาคุณสมบัติและหน้าที่ของอุปกรณ์อย่างเข้าใจ  รวมถึงต้องปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก่อน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้สูงอายุด้วย

ที่มาข้อข้อมูล https://www.siritornmedical.com/walking-aids/

รูปประกอบจาก: httpps:/www.freepik.com

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า