ลดช่องว่างระหว่างวัย สู่ความเข้าใจในความแตกต่าง

สังคมไทยปัจจุบันที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิด “ช่องว่างระหว่างวัย” มากขึ้น เพราะคนต่างวัยย่อมมีความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากครอบครัว สถานศึกษา ที่ทำงาน สังคมและชุมชน ที่มีบริบทแตกต่างกันออกไป

เมื่อพูดถึงเรื่องช่วงวัยที่เป็นปัจจัยสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรม แนวคิด และความรู้สึกของสมาชิกแต่ละกลุ่มภายในครอบครัวเสียก่อน ดังนี้

  • Generation Z หรือ Gen-Z หมายถึง คนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 เกิดจากพ่อแม่รุ่นใหม่อย่าง Gen-X และ Gen-Y  เติบโตมาในยุคของสมาร์ทโฟนและสื่อสังคมออนไลน์ ให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี
  • กลุ่ม Millennial หรือ Gen Y หมายถึง กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 20 ต้น ๆ จนไปถึง 30 ปลาย ๆ ซึ่งมักจะชื่นชอบความเป็นอิสระในการใช้ชีวิต มีความคิดเป็นของตนเอง อ่อนไหวง่าย ทันสมัย ต้องการเป็นที่ยอมรับจากสังคม และเท่าทันโลกที่ขับเคลื่อนตลอดเวลา เป็นต้น
  • Generation X หรือ Gen-X หมายถึง กลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดระหว่างปี 1965-1980 พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของคนกลุ่มนี้ที่เด่นชัดคือ ชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการ มีแนวคิดสร้างความสมดุลในเรื่องงานและครอบครัว คือทำงานตามหน้าที่ ไม่บ้างาน ไม่ทุ่มเท ทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร เป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง สร้างสรรค์
  • กลุ่ม Baby Boomer หมายถึง กลุ่มคนเกิดในช่วง พ.ศ. 2489-2507 จะมีอายุระหว่าง 50 ขึ้นไป นั่นหมายถึงเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็น พ่อแม่-ผู้ปกครอง หรือปู่ย่า ตายาย ของกลุ่ม Millennial ซึ่งมักจะไม่คุ้นชินกับความเปลี่ยนแปลง มีแนวคิดไปทางอนุรักษนิยม อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เครียดเนื่องจากการทำงาน และเริ่มมีปัญหาด้านความทรงจำ เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างวัย

1. การสื่อสาร

 คนต่างวัยกันมักจะใช้ภาษาและวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น รุ่นเก่ามักชอบการสื่อสารทางโทรศัพท์หรือการพบปะเจอหน้า ในขณะที่รุ่นใหม่มักชอบการสื่อสารผ่านข้อความหรือโซเชียลมีเดีย

2. ภาษาและวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกัน

คนแต่ละวัยใช้ภาษาและวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกัน คนรุ่นเก้ามักใช้ภาษาที่สุภาพ เรียบง่าย ตรงไปตรงมา ในขณะที่คนรุ่นใหม่ใช้ภาษาที่ informal มีศัพท์แสลง สื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย

3. เทคโนโลยี

คนรุ่นเก่ามักไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในขณะที่คนรุ่นใหม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร หาข้อมูล และทำธุรกรรมต่าง ๆ การเข้าถึงและการใช้งานเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

วิธีลดช่องว่างระหว่างวัยดังนี้

1. เข้าใจเรื่องกายภาพ ความเปลี่ยนแปลงของแต่ละช่วงวัย เพราะแต่ล่ะช่วงวัยก็มีการเจริญเติมโต ความเสื่อมของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ยิ่งอายุมากขึ้น การเคลื่อนวัยการตอบสนองต่างๆ จะช้าลงกว่าววัยรุ่น วัยหนุ่มสาว

2.  ไม่ตัดสิน ฟังกันด้วยความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น มุมมอง และประสบการณ์ของอีกฝ่ายโดยปราศจากอคติ หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบหรือตัดสินว่าความคิดแบบไหนถูกหรือผิด พยายามจับใจความสำคัญ สังเกตุภาษากาย อารมณ์ และความรู้สึก ของคู่สนทนาด้วย

3. เอาใจเขามาใส่ใจเรา เข้าใจในความต่างของกันและกัน ต้องยอมรับว่าคนเราถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน คนที่มีความเชื่อหรือทัศนคติต่อชีวิตไม่เหมือนเรา เขาไม่ใช่คนไม่ดีเสมอไป

4. ทำกิจกรรม ที่สร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันในครอบครัว เช่น การทำอาหารร่วมกัน การเล่าเรื่องราวในอดีตจากคนรุ่นเก่าให้คนรุ่นใหม่ฟัง ช่วยให้คนรุ่นใหม่เข้าใจวิถีชีวิต ค่านิยม และวัฒนธรรมในอดีต หรือจะชวนกันไปท่องเที่ยวทั้งครอบครัวเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายและสร้างความทรงจำดีๆร่วมกัน

ดังนั้นการลดช่องว่างระหว่างวัย สู่ความเข้าใจในความแตกต่างในครอบครัว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทุกคนต้องเปิดใจรับฟัง เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เคารพในความแตกต่าง และพร้อมที่จะปรับตัว ด้วยความพยายามร่วมกัน เราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และลดช่องว่างระหว่างวัยลงได้


ที่มาข้อมูล :
https://psub.psu.ac.th/?p=8180
https://www.thaihealth.or.th/?p=361492

ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า