ไวรัส RSV ภัยร้ายที่ผู้สูงอายุต้องระวัง

RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถพบการติดเชื้อได้ในเด็กเล็กและผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป หรือมีร่างกายอ่อนแอ ซึ่งผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อ RSVเป็นไวรัสที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นโรคหอบหืด ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะจะมีความเสี่ยงติดเชื้อและรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่วัยอื่น ๆ อาการเป็นได้ตั้งแต่ ไข้หวัดธรรมดา ไปจนถึง ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง และอาจรุนแรงถึงขึ้นเกิดภาวะหัวใจวายได้ ถึงแม้จะรักษาหายขาดแล้ว ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

วิธีสังเกตเมื่อติดไวรัส RSV จะมีอาการอย่างไร 

  • อาการทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไอ เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ น้ำมูกไหล ตาแดง
  • อาการทางเดินหายใจไวต่อสิ่งกระตุ้น อาทิ ความชื้น, ฝน, ฝุ่น, ควัน, ละอองเกสร เช่น หายใจแล้วมีเสียงหวีด เหนื่อย ไอเรื้อรัง แม้จะไม่มีโรคหลอดลมอักเสบมาก่อน
  • อาการทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
  • อาการทางหัวใจ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดภาวะน้ำท่วมปอดจนหัวใจวาย หัวใจขาดเลือด กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ

RSV อาจจะมีอาการเหมือนคนเป็นไข้หวัด  แต่จะแตกต่างกันตรงที่ RSV อาจจะมีไข้และมีระยะเวลาในการเป็นนานว่าไข้หวัดธรรมดา โดยจะอยู่ที่ 5-7 วัน และอาการทางระบบหายใจจะชัดเจนกว่า โดยการติดเชื้อ RSV จะไม่มีอาการสูญเสียการรับกลิ่นหรือรส คล้ายโควิด-19 

ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV สามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3-8 วัน และติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ

วิธีการรักษาและป้องกัน RSV

สามารถฉีดวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ RSV ในผู้สูงอายุ แต่ยังไม่มียารักษาเชื้อไวรัส RSV โดยตรง การรักษาจึงเป็นเพียงการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง เช่น การให้ยาลดไข้ การดูดเสมหะ การให้ยาขยายหลอดลมในรายที่มีภาวะหลอดลมตีบ

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับฉีดวัคซีน RSV คือ ควรฉีดก่อนเข้าสู่การแพร่ระบาดของ RSV ซึ่งมักอยู่ในช่วงฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยฉีดเพียง 1 ครั้ง เข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน

แต่ก็มีข้อควรระวังเมื่อจะต้องฉีดวัคซีน RSV ผู้ดูแลควรแจ้งแพทย์ในกรณีที่ผู้สูงอายุเคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงหลังจากฉีดวัคซีนชนิดอื่น มีไข้สูงที่เกิดจากการติดเชื้อ มีเลือดออกง่ายหรือเกิดรอยช้ำง่าย และผู้สูงอายุที่เคยได้รับวัคซีนอื่นมาเร็ว ๆ นี้

ทั้งนี้เมื่อฉีดวัคซีน RSV แล้วก็อาจจะมีอาการต่างๆดังนี้ได้ ปวด บวม แดง คันที่ตำแหน่งฉีด อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและปวดข้อ แต่ก็เป็นอาการแค่ชั่วคราวเท่านั้น แต่ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ผื่นแดง ควรต้องรีบไปพบแพทย์ค่ะ

สำหรับผู้สูงอายุเราสามารถป้องกันได้โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว และสังคมรอบข้าง การใช้มาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ร่วมกับการดูแลสุขภาพองค์รวม จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ RSV และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า