ข้อแนะนำการขับขี่ให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

การขับรถให้ปลอดภัยนอกจากจะเข้าใจเรื่องกฏจราจรแล้ว ต้องรวมไปถึงสภาพร่างกาย สายตา ที่เหมาะสมสำหรับการขับรถ ผู้สูงอายุเมื่ออายุที่มากขึ้นเรื่อยๆก็อาจจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง ก่อนจะขับรถไปไหนมาไหนเองก็ควรที่จะตรวจเช็คและดูความพร้อมของตัวเองด้วยค่ะ

1. ตรวจเช็คสายตาและหูเป็นประจำ

เพราะการขับรถต้องใช้สายตามองเป็นหลัก และใช้หูในการฟังเสียง เมื่ออายุมากขึ้นประสาทสัมผัสทางตาและหูอาจจะช้าลง ดังนั้นควรที่จะเช็คโรคทางสายตาในผู้สูงอายุ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือโรคจอประสาทตาเสื่อม รวมไปถึงเช็คการได้ยิน เพราะหากมีเสียงบีบแตรบนท้องถนนก็จะได้ฟังได้ชัดเจน และขับรถได้ปลอดภัยมากขึ้น

2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีการตอบสนองของร่างกายที่ดีขึ้น อาจจะออกกำลังกายแบบง่ายๆที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินบ่อยๆ การออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย

3. เลือกเวลาขับรถที่มองเห็นได้ชัดเจน

หลีกเลี่ยงการขับรถในเวลากลางคืน เพราะในเวลากลางวันมองเห็นทางได้อย่างชัดเจน เลือกขับในถนนที่มีรถไม่มากนัก ทางที่คุ้นเคย และไม่ควรขับรถในช่วงเวลาที่อารมณ์โกรธมากๆ หรือร่างกายเหนื่อยล้าเกินไป

4. วางแผนการเดินทาง

หากจะต้องขับรถไปไหน ควรวางแผนศึกษาเส้นทาง และใช้ GPS เป็นตัวช่วยในการเดินทาง เพื่อทำให้ขับรถได้สะดวกสบายมากขึ้น

5. รู้ลิมิตของตัวเอง

การขับรถให้ปลอดภัยเราก็ควรรู้สมรรถภาพในการขับรถของเราเองว่าไหวที่เท่าไร และรู้ว่าเมื่อไหร่ร่างกายของตนเองกำลังแสดงอาการผิดปกติ และเลือกใช้สิ่งที่ช่วยให้การขับขี่ง่ายขึ้น

6. อัพเดทสกิลการขับรถ

อาจจะไปเรียนขับรถอีกครั้ง เพื่อเรียนรู้และอัพเดทกฏหมายการขับรถไปด้วย

ทั้งนี้ข้อสำคัญคือสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ถ้าหากว่าตรวจเช็คร่างกายแล้วมีอาการของโรคดังนี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเช่นกัน 

  1. โรคตา อย่างเช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้เวลาขับรถในตอนกลางคืนมองไม่ชัด ผู้ที่เป็นต้อหินอาจมีลานสายตาที่แคบทำให้มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี ผู้ป่วยโรคต้อหินจะมองเห็นแสงไฟบอกทาง ไฟหน้ารถพร่าได้

  2. โรคทางสมอง ทั้งอาการหลงลืม ภาวะสมองเสื่อม อาจจะทำให้ขับรถหลงทาง เลี้ยวผิดเลี้ยวถูก มีการตัดสินใจหรือสมาธิที่ไม่ดี รวมไปถึงอาการของแขนขาที่ไม่มีแรงขับรถ อาจจะเหยียบเบรกเหยียบคันเร่งได้ไม่ดีเท่าไร รวมไปถึงความไวของสมองที่ช้าลงด้วย อาการทางสมองเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเป็นอย่างยิ่ง

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า