ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์ถือว่าเป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวังในเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ เพราะมีอาหารบางอย่างที่คนเป็นโรคเก๊าท์ไม่สามารถกินได้ สำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านแล้วเป็นโรคเก๊าท์ยิ่งต้องเช็คให้ดีเลยค่ะ ว่าควรทานอะไรและควรเลี่ยงอะไรบ้าง
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การทานไก่มากไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์นะคะ เพราะว่าโรคเก๊าท์เกิดจากการสะสมกรดยูริกในร่างกายมากเกินไป ซึ่งกรดนี้ไม่ได้พบมากในไก่ค่ะ และส่วนมากแล้วกรดยูริกจะผลิตขึ้นมาจากร่างกายเราเอง ประกอบกับการทานอาหารด้วยส่วนหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าการทานไก่จะไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์ แต่ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้วและมาทานไก่หรืออาหารที่มีโปรตีนผสมอยู่ และกรดยูริกสูงอาจจะทำให้อาการกำเริบมาได้ ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้วจึงไม่ควรทานไก่นั่นเองค่ะ
ทั้งนี้มาทำความเข้าใจกันต่อว่ากรดยูริกเกิดจากอะไร กรดยูริกเกิดจากกระบวนการย่อยของเสียในกระบวนการสร้างเซลส์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามกรดยูริกก็จะถูกขับออกมาจากร่างกายผ่านการขับถ่าย ซึ่งการสะสมในร่างกายมักเกิดจากการที่ร่างกายผลิตกรดยูริกมากเกินไป หรือไตขับกรดยูริกได้น้อยกว่าปกติ
สำหรับอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์ และผู้สูงอายุที่เป็นโรคเก๊าท์ไม่ควรกิน มีดังนี้
- ไม่รับประทานอาหารที่มีมันมาก เช่น อาหารทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันจะทำให้ร่างกายขับยูริกออกได้น้อยลง
- ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นกลุ่มที่มีสารพิวรีนสูง กินมากก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าหากดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้น ควรดื่มวันละไม่เกิน 2 แก้ว
- งดเว้นการทานส่วนยอดของผัก ต้นอ่อนของผัก ได้แก่ ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีนหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม
- งดอาหารหมักที่ใช้ยีสต์เป็นตัวเร่งในส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว
- งดเว้นเมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้ เพราะจะมียูริกค่อนข้างมาก
สำหรับอาหารที่ผู้สูงอายุเป็นโรคเก๊าท์ควรทาน เน้นการทานผักผลไม้ให้มาก แต่ควรเลือกเป็นผักที่โตเต็มวัย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆวันละ 3 ลิตร และทานเต้าหู้เป็นประจำ เพราะจะช่วยขับกรดยูริกออกมานั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ช่วยลดกรดยูริกในร่างกายได้อีกด้วยนะคะ
1. นมไขมันต่ำ วันละ 1 แก้ว ช่วยลดการเกิดโรคเก๊าต์ได้ กรดอะมิโนจะช่วยให้ไตขับสารยูริคออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ผลไม้วิตามินซีสูง เช่น ส้ม มะนาว มะขามป้อม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ทานวิตามินซีให้ได้อย่างน้อยวันละ 500 มิลลิกรัม จะช่วยลดระดับยูริกในร่างกายได้ หรือจะทานวิตามินซีเสริมแทนได้หากทานผลไม้ไม่บ่อย
3. กล้วย ทานกล้วยวันละ 1-2 ผล ติดต่อกัน 1-2 อาทิตย์ จะช่วยลดกรดยูริคและบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเก๊าต์ลงได้
4. แอปเปิ้ล ในแอปเปิ้ลมีกรดมาลิคอยู่สูง จะช่วยรักษาสมดุลของกรดยูริค ทำให้กรดยูริคในเลือดต่ำลง แนะนำให้ทานแอปเปิ้ลสัปดาห์ละ 3-4 ผลโดยไม่ปลอกเปลือกจะช่วยบรรเทาโรคเก๊าต์ได้
5. เชอรี่ มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ช่วยลดความเจ็บปวดตามข้อจากโรคเก๊าต์ ลดระดับกรดยูริคในเลือดและป้องกันการก่อตัวของผลึกยูริคตามข้อกระดูก
6. กาแฟ มีงานวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟก็สามารถช่วยลดกรดยูริคได้เหมือนกัน
7. อาหารที่มีสารพิวรีนต่ำ มีหลายชนิด สามารถเลือกทานได้สลับกันไปเช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวขัดสี ธัญพืช ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ถั่วเปลือกแข็ง เต้าหู้ ไขมันทุกประเภท
8. น้ำเปล่า น้ำจะช่วยให้กรดยูริคในเลือดเจือจางลงและยังช่วยเร่งการกำจัดกรดยูริคออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จึงแนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
เพื่อให้การดูแลตัวเองจากโรคเก๊าท์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการถือเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ เพราะผู้เชี่ยวชาญจะช่วยวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย การได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้มั่นใจว่า ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถเพลิดเพลินกับการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้อีกด้วย