ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (ตอนที่ 1)

จากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในปี พ.ศ. 2556 พบว่ามีผู้สูงอายุที่เข้าข่ายมีภาวะซึมเศร้าถึงร้อยละ 33 แต่ผู้สูงอายุในชุมชนที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า จริงๆ มีประมาณร้อยละ 6

รายงานของ ศ. พญ.ณหทัย วงศ์ปการันย์ และคณะ ที่เสนอต่อสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2559 พบว่ามีผู้สูงอายุที่ เป็นโรคซึมเศร้าจำนวนร้อยละ 23 ของผู้สูงอายุที่รับการรักษา ในโรงพยาบาล 4 แห่งซึ่งมีแผนกจิตเวช และรายงานวิจัยของ ศ. พญ.ณหทัย วงศ์ปการันย์ และคณะ ที่เผยแพร่ในวารสาร การแพทย์ พบว่ามีผู้สูงอายุไทยในบ้านพักคนชราที่เป็นโรค ซึมเศร้ามากถึงร้อยละ 23

ภาวะซึมเศร้าคืออะไร 

ภาวะซึมเศร้าคือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ชนิด หนึ่ง อาการหลักๆ คือผู้สูงอายุจะรู้สึกเบื่อหน่ายหรือเศร้า หรือ ทั้งสองอย่าง โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการกิน การนอน เรี่ยวแรง สมาธิ รวมถึงความรู้สึกที่มีต่อตัวเอง ร่วมด้วย การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ถ้าเป็นไม่มากนัก อาจเข้าข่าย “ภาวะซึมเศร้า” แต่หากมีอาการมากและกินระยะเวลานาน ก็อาจพัฒนากลายเป็น “โรคซึมเศร้า” ซึ่งจะทำให้ไม่มีความสุข ในชีวิต ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ไม่ดีเหมือนเดิม และบางรายที่รู้สึกท้อแท้หรือหมดหวัง อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้น ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป

อาการของภาวะซึมเศร้าเป็นอย่างไร

เราสามารถสังเกตอาการผู้สูงอายุในบ้านได้ว่าอาจจะมีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่  โดยสังเกตจากอาการ ดังนี้

  1. รู้สึกเบื่อหน่าย ผู้สูงอายุจะรู้สึกเบื่อหน่าย สนใจสิ่งต่างๆ น้อยลง หรือหมดความสนใจ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต ไม่เบิกบาน ห่อเหี่ยว หดหู่
  2. รู้สึกเศร้า ผู้สูงอายุจะเศร้าโศกเสียใจง่าย น้อยใจง่าย ร้องไห้ ง่าย รวมถึงมักรู้สึกท้อใจ 
  3. พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลง  ผู้สูงอายุจะนอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ ตื่นเช้ากว่าปกติ หรืออาจนอนมากขึ้น หลับทั้งวัน ทั้งคืน นอนขี้เซา
  4. พฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลง เบื่ออาหาร ไม่ค่อยหิว หรือ อาจกินจุขึ้น ของที่เคยชอบกินกลับไม่อยากกิน หรือบางราย อาจอยากกินของที่ปกติไม่กิน
  5. การเคลื่อนไหวของร่างกายเปลี่ยนแปลง ผู้สูงอายุอาจ เคลื่อนไหวเชื่องช้าลงหรือเคลื่อนไหวมากขึ้น กระวนกระวาย
  6. กำลังกายเปลี่ยนแปลง อ่อนเพลียง่าย กำลังวังชาลดน้อย ถอยลง รู้สึกไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิม ไม่ค่อยมีแรง
  7. ความรู้สึกต่อตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หรือ รู้สึกแย่กับตัวเอง คิดว่าตนเป็นภาระของลูกหลาน ไม่มีความ สามารถเหมือนที่เคยเป็น ความภาคภูมิใจในตนเองลดลง อับจนหนหาง หมดหวังในชีวิต
  8. สมาธิและความจำบกพร่อง หลงลืมบ่อย โดยเฉพาะลืมเรื่อง ใหม่ๆ ใจลอย คิดไม่ค่อยออก มักลังเลหรือตัดสินใจผิดพลาด
  9. ทำร้ายตัวเอง ผู้สูงอายุบางรายที่มีอาการมากๆ อาจรู้สึก ไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป บางรายจะคิดหรือพูดถึงความตาย บ่อยๆ นึกอยากตาย และอาจวางแผนทำร้ายร่างกาย

เมื่อเราทราบอาการเบื้องต้นแล้ว เราสามารถที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุได้ทันท่วงที โดยคอยให้กำลังใจ ดูแลเอาใจใส่ เติมความสุขให้ท่าน เพื่อที่จะช่วยลดอาการ หรือ ป้องกันไม่ให้ท่านย่างเข้าสู่ภาวะโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งตัวช่วยที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจและความเอาใจใส่ของลูกหลานหรือผู้ดูแลในบ้างนั่นเอง

ในตอนต่อไป เราจะมาทราบกันว่า โรคซึมเศร้านี้ จะเป็นต้นเหตุของโรคอะไรอีกบ้าง คอยติดตามกันนะคะ


ที่มาขอข้อมูล : คู่มือการดูแลผู้สูงวัย สูตรคลายซึมเศร้า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ

รูปภาพจาก : freepik

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า