ผู้สูงอายุที่ใช้สิทธิบัตรทอง ได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง?

บัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นสิทธิที่มอบให้กับประชาชนทุกคน รวมถึงผู้สูงอายุ เพื่อให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง โดยผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมจากสิทธิปกติ เพื่อรองรับความต้องการด้านสุขภาพที่แตกต่างกันไปตามวัย ภายใต้การดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มากถึง 13 สิทธิประโยชน์ดังนี้ ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

1. ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก

2. ตรวจประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)

3. ตรวจวัดดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต

4. ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวาน เอชไอวี

5. คัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง

6. คัดกรองโรคซึมเศร้า

7. การคัดกรองวัณโรค มะเร็งช่องปาก

8. ตรวจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม

9. ตรวจอุจจาระคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (50-70 ปี)

10. การเคลือบฟลูออไรด์

11. การให้ความรู้ออกกำลังกายและฝึกสมองป้องกันโรคสมองเสื่อม

12. การให้ความรู้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง

13. การให้คำปรึกษาและแนะนำการป้องกันเอชไอวีหลังสัมผัส สายด่วนสุขภาพจิต 1323 และสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600

ที่มารูปภาพ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การสมัครใช้สิทธิบัตรทอง สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุที่เคยมีสิทธิประกันสังคม ถ้าต้องการออกจากสมาชิกภาพประกันสังคมตามมาตรา 33 เพื่อรับเงินบำนาญชราภาพ ส่วนการรักษาพยาบาลจะใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาพยาบาล ทำได้ดังนี้

  1. หลังจากที่นายจ้างได้แจ้งการลาออกจากงาน หรือ เกษียณอายุของผู้ประกันตน ต่อสำนักงานประกันสังคมแล้ว ผู้ประกันตนยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลได้อีก 6 เดือน
  2. เมื่อครบ 6 เดือนนับจากวันที่ลาออกจากผู้ประกันตน หรือเกษียณ ซึ่งสามารถสมัครใช้สิทธิบัตรทองได้ในช่วงนี้

เอกสารที่ผู้สูงอายุเตรียมเพื่อสมัคร “สิทธิบัตรทอง”

ผู้สูงอายุสามารถสมัครใช้สิทธิ “บัตรทอง” ได้โดยเตรียมเอกสารไปสมัครได้ทุกช่องทาง ได้ตามขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมเอกสาร
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร)
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ใช้เอกสารเพิ่ม 2 อย่าง ได้แก่
    • สำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย
    • หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนว่าได้ไปพักอยู่อาศัยจริง

ทําบัตรทองที่ไหนได้บ้าง

ติดต่อสมัครบัตรทอง ด้วยตนเองได้ที่

  • ผู้สูงอายุที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร สามารถไปยื่นเอกสาร สมัครบัตรทอง ได้ที่สำนักงานเขต
  • โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน ในวัน-เวลาราชการ
  • ผู้สูงอายุที่อาศัยในต่างจังหวัด สามารถไปสมัครได้ที่ รพ.สต. ใกล้บ้าน
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ในวัน-เวลาราชการ
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13 ตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย ในวัน-เวลาราชการ

สมัครบัตรทองออนไลน์

  1. สมัครผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน สปสช.
  2. ลงทะเบียนผ่าน Line @nhso โดยเพิ่มเพื่อนแล้วคลิกเลือกเมนู สิทธิบัตรทอง จากนั้นทำตามขั้นตอนที่กำหนด
  • แอปพลิเคชัน สปสช. โดยมีขั้นตอนดังนี้
     • ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
     • เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช
     • กดปุ่ม “ลงทะเบียน”
     • กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ
     • กรอกเลขบัตรประชาชน
    • สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอป
     • เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน ให้กด ลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน
รูปภาพจาก : App Store


ที่มาข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า