อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเมื่อร่างกายเจริญเติบโตถึงขีดสุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายจะเป็นไปในด้านเสื่อมสลาย มากกว่าการสร้างเสริมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ การทำงานของระบบประสาทจะด้อยลง

เมื่อผู้สูงวัยมีอายุมากขึ้น มักจะเจอปัญหาต่างๆ และผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องนี้อย่างมาก เช่นป็นโรคฟันผุ หรือไม่มีฟันทั้งปาก ต่อมน้ำลายหลั่งสารน้ำลายน้อยลง มีผลทำให้การบดเคี้ยวอาหารภายในปากเป็นไปได้ไม่ดี เมื่ออาหารมาถึงกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก มีปัญหาการย่อยและการดูดซึมเพราะน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กมีน้อยลงอาหารที่ย่อยไม่ได้ เมื่อผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่ก็จะเกิดการสะสมเกิดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และปล่อยก๊าซออกมาทำให้ท้องขึ้นท้องอืดได้ การเคลื่อนไหวของลำไส้ก็มีน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว ทำให้เกิดอาการท้องผูกอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังคงมีความต้องการพลังงานและสารอาหารที่มีคุณภาพสูงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ จึงควรกิน อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย

หมู่ที่ 1 : เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ

เพื่อเสริมสร้างและซ่อมแซมร่างกาย

  • เนื้อปลาจะเหมาะมากสำหรับผู้สูงวัยเพราะ

ย่อยง่าย

  • ไข่ไก่หรือไข่เป็ดควรต้มจนสุก
  • นมสดพร่องมันเนย เป็นอาหารที่ให้แคลเซียม

และโปรตีน

  • ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง

และมีราคาถูก ใช้แทนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ได้

เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น

หมู่ที่ 2 : ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน

สารอาหารหมู่นี้เป็นอาหารที่ให้พลังงานเป็น ส่วนใหญ่ ผู้สูงวัยควรกินในปริมาณที่พอเหมาะไม่ควรกินมากเกินไป

หมู่ที่ 3 : ผักต่าง ๆ 

ผักเป็นอาหารที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุผู้สูงวัยควรเลือกกินผักหลายๆ ชนิดสลับกัน ควรต้ม หรือนึ่งจนสุกไม่ควรบริโภคผักดิบ เพราะย่อยยากและทำให้ท้องอืดได้

หมู่ที่ 4 : ผลไม้ต่างๆ

ผู้สูงวัยสามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิดและควรกินผลไม้ทุกวัน เพื่อให้ได้วิตามินซีและเส้นใยอาหารและควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย ได้แก่มะละกอสุก กล้วยสุกส้ม ฯลฯ

หมู่ที่ 5 : ไขมัน/น้ำมันพืช

ควรใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันจากสัตว์และ

น้ำมันพืชบางชนิด เช่นน้ำปาล์มและน้ำมันมะพร้าว

แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ

นอกจากการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ทุกมื้อเพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงควรปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง
  • พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
  • ฝึกการขับถ่าย อย่าให้ท้องผูก
  • ดูแลสุขภาพ ช่องปาก ฟัน และเหงือก อยู่เสมอ
  • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ ปีละ 2 ครั้ง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ เหมาะสมกับ

สภาพของร่างกาย

  • งดสิ่งเสพติดที่บั่นทอนสุขภาพ เช่น บุหรี่ เหล้า
  • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  • มองโลกในแง่ดี จะทำให้จิตใจสดใส อารมณ์ดี
  • ควรหาโอกาสพบปะสังสรรค์ กับเพื่อนบ้าน

ที่มาข้อมูล

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุพัตรา แสงรุจิ

สนับสนุนการพิมพ์โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

รูปประกอบจาก: https://www.freepik.com

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า