ธาตุสี่ และนาฬิกาชีวิต

ในทางพุทธศาสนา ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ ล้วนมีองค์ประกอบเหมือนกัน นั่นคือธาตุทั้งสี่ อันมี ดิน น้ำ ลม ไฟ แตกต่างกันแต่เพียงปริมาณของแต่ละธาตุอันประกอบขึ้นเป็นสิ่งนั้น

1

คนก็ประกอบด้วยธาตุสี่

มี กระดูก เล็บ ฟัน ผม ขน เนื้อ เอ็น ม้าม หัวใจ ตับ ปอด ลำไส้ ฯลฯ จำนวน 20 อย่าง เป็นธาตุดิน เป็นของแข็งมีรูปร่างชัดเจน

มี เลือด เหงื่อ น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ และของเหลวอื่นๆ รวม 12 อย่างเป็นธาตุน้ำในร่างกาย

มี ลมหายใจ แก๊สในกระเพาะ ในลำไส้ 6 อย่าง เป็นธาตุลม

มี พลังงานย่อยอาหาร มีความอบอุ่นของร่างกาย รวม 4 อย่าง เป็นธาตุไฟ

ธาตุดินทำหน้าที่รักษารูปร่างนี้เอาไว้ ธาตุน้ำทำหน้าที่ให้อาหาร ธาตุลมทำหน้าที่เคลื่อนไหว ส่วนธาตุไฟก็ทำหน้าที่ให้พลังงาน ร่างกายปกติของคนนั้น ธาตุทั้งสี่ชนิดนี้จะต้องได้ดุลกัน อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพิงอาศัยกันและกัน ไม่อาจแยกจากกันได้ ไม่อาจขาดธาตุใดไปได้ เมื่อไหร่ที่ธาตุทั้งสี่แยกจากกัน ร่างกายนี้ก็แตกสลายทันที และเมื่อไหร่ที่ธาตุทั้งสี่นี้ ไม่ได้ดุลกัน หรือขาดธาตุใดไป ก็จะเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย

ธาตุทั้งสี่จะแตกสลายไม่ได้ดุลกัน ก็ต่อเมื่อ ตัวเราเองไปขัดขวางภาวะที่สมดุลตามธรรมชาติของมัน

ร่างกายอันประกอบด้วยธาตุสี่ในธรรมชาติ มีกฎเกณฑ์ของธรรมชาติควบคุมอยู่ เป็นกฎเกณฑ์แน่นอน ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ร่างกายที่แข็งแรงจึงได้มาเนื่องจาก การทำตัวเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวาง หรือไม่ทำตามกฎนั้น ก็เท่ากับเราทำลายการทำงานของระบบต่างๆ ผลสุดท้ายก็คือ การค่อยๆทำลายชีวิตของตัวเอง

2

กฎสำคัญที่สุด ที่ร่างกายนี้จะต้องเคารพและปฏิบัติตาม คือกฎของกลางคืนและกลางวัน

มนุษย์เป็นเพียงสิ่งเล็กๆสิ่งหนึ่ง ของจักรวาลอันยิ่งใหญ่ จักรวาลนี้อยู่ได้ด้วยแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีความมืดและความสว่าง เป็นกลไกที่ทำให้จักรวาลนี้รวมตัววกันอยู่ได้ มีความร้อนและความเย็นที่สมดุล ทำให้สิ่งมีชีวิต คน สัตว์ และพืชนานาพันธุ์ สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างสอดคล้องผสานกลมกลืน ต่างให้และรับประโยชน์จากกันและกันมาตั้งแต่โลกอุบัติ นับล้านปี

นี่คือกฎของธรรมชาติ ที่ไม่อาจละเมิดได้

จะทำให้การเคลื่อนไหวทั้งมวลของชีวิต มีจังหวะเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้อย่างไร

ในเวลากลางวัน ที่พระอาทิตย์เริ่มให้แสงสว่าง จนกระทั่งร้อนแรง และอ่อนแสงลง เราควรจะใช้ชีวิตอย่างไร และในยามกลางคืน ที่ความร้อนของจ้าวแห่งจักรวาล ค่อยๆลดลงจนเย็น แล้วค่อยอุ่นขึ้นมาใหม่ เราควรทำะไร

มีผู้รู้หลายท่าน ได้ศึกษาและรวบรวม ความรู้เกี่ยวกับกลางวันและกลางคืน กับชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ เอาไว้อย่างเป็นระบบ หนึ่งในท่านเหล่านั้น คืออาจารย์นวลฉวี ทรรพนันทน์ ซึ่งได้เขียนหนังสือเรื่องนาฬิกาชีวิตขึ้นมา ทำให้เราได้รู้ว่า เวลาแต่ละช่วงของกลางวันและกลางคืนนั้น ธรรมชาติได้กำหนดกฎให้ร่างกายของเราทำอะไรบ้างไว้อย่างละเอียด

ในรอบ 1 วัน ที่แบ่งเวลาไว้เป็น 24 ชั่วโมงนั้น ร่างกายเราแบ่งกันทำงาน ส่วนละ 2 ชั่วโมงอย่างเที่ยงตรง

01.00​ – 03.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของตับ เราจึงควรจะต้องนอนหลับให้สนิท ในห้องที่ไม่มีแสงสว่าง 

03.0005.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของปอด ควรตื่นมารับอากาศบริสุทธิ์

05.0007.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของลำไส้ใหญ่ ต้องขับถ่าย

07.0009.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของกระเพาะอาหาร ต้องกินข้าวเช้า

09.0011.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของม้าม ควรพูดน้อย และห้ามนอน

11.0013.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของหัวใจ ห้ามเครียด

13.0015.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของลำไส้เล็ก ห้ามกินอาหาร

15.0017.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ต้องออกกำลังกาย หรือทำให้เหงื่อออก

17.0019.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของไต ต้องทำตัวให้สดชื่น

19.0021.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของเยื่อหุ้มหัวใจ ละเว้นเรื่องตื่นเต้น หรือสนุกสนานคึกคัก ควรสวดมนต์ ทำสมาธิ

21.0023.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของพลังงาน ทำตัวให้อุ่น ไม่ควรอาบน้ำ

23.0001.00 เป็นช่วงเวลาทำงานของถุงน้ำดี ควรดื่มน้ำแล้วเข้านอน

3

นอกจากนาฬิกาชีวิตประจำวันเช่นนี้แล้ว  สิ่งที่เราจะต้องเคารพและพยายามใช้ชีวิตให้กลมกลืนสอดคล้องก็คือนาฬิกาชีวิตประจำขึ้นแรม  ประจำฤดู  และที่สุดคือประจำอายุขัย

ชาวประมงย่อมรู้ดีว่า  เดือนขึ้นเดือนแรมนั้นมีผลต่อการออกทะเลหาปลาอย่างไร  เช่นเดียวกับชาวนาย่อมรู้ดีว่าฤดูกาลสำคัญเพียงไรในการทำนา  ซึ่งย่อมหมายรวมควบถึงชีวิตความเป็นอยู่ทุกอย่างที่ถูกกำกับด้วยธรรมชาติเหล่านี้  ถ้าหากเราสามารถมีชีวิต  ทั้งกินทั้งอยู่ให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติเหล่านี้ได้  ชีวิตเราก็จะสุขสมบูรณ์  ร่างกายจะแข็งแรง  จิตใจก็แจ่มใส  หากเมื่อไรที่เราทำในสิ่งตรงกันข้าม  หายนะก็จะค่อย มาเยือน  

น่าเสียดายที่คนในยุคปัจจุบัน  ละเลยและลืมกฎของวันเดือนปี  กลางวันกลางคืน  ข้างขึ้นข้างแรม  ฤดูฝน  ฤดูร้อนกันไปเสียเกือบหมดแล้ว  เรามีไฟฟ้าให้แสงสว่างยามค่ำคืน  ทำให้เวลานอนของเราไม่แน่นอน  ไม่ต้องสนใจว่าเดือนจะมืดหรือเดือนจะแจ้ง  จะทำอะไรเมื่อไหร่ก็ได้  มีพัดลม มีแอร์คอนดิชั่นในบ้านไม่ต้องสนใจว่าอยู่ในฤดูไหน  นี่ถ้าเรายังทำการเกษตร  ทำนาทำไร่  หรือออกเรือหาปลากันอยู่  เราอาจเคารพกฎเกณฑ์ของธรรมชาติได้มากกว่านี้  ชีวิตและสุขภาพของเราก็คงจะดีกันกว่านี้

นาฬิกาประจำอายุขัย

อายุของคนเราอาจแบ่งได้เป็นช่วงกว้าง   ตามธรรมชาติของการเกิดแก่เจ็บตายได้ดังนี้

วัยเด็ก ศึกษาหาความรู้ 

วัยหนุ่มสาว ประกอบอาชีพ  สร้างครอบครัว

วัยชรา ถือศีลปฏิบัติธรรม

ถ้ามีชีวิตถูกต้องสอดคล้องกับธรรมชาติตามวัยของตน  ชีวิตนี้ก็จะมีแต่ความสุขทั้งกายและใจ  อายุจะยืนยาว

ธรรมชาติตามวัย

วัยทารก (แรกเกิด – 5 ขวบ)

เป็นวัยอ่อนแอ  ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่  ระบบต่าง ยังทำงานไม่สมบูรณ์  ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้  จึงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษจากพ่อแม่  

วัยเด็ก(5 – 15 ปี)

เป็นวัยซน  ธรรมชาติแห่งวัยทำให้ต้องเคลื่อนไหวไม่อยู่นิ่ง  เพื่อฝึกฝนให้ระบบต่าง ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วัยรุ่น(15 – 25 ปี)

เป็นช่วงของการโตเต็มวัย  คล่องแคล่วปราดเปรียวมีพลัง

วัยทำงานช่วงที่ 1 (25 – 40 ปี)  

ธรรมชาติให้ความสมบูรณ์ของร่างกายและสติปัญญา  ปกติแล้วในวัยนี้ไม่ควรจะเจ็บไข้ได้ป่วย  ใครมีโรคต่าง ในช่วงนี้ต้องถือว่าผิดธรรมชาติ  ทำให้แก่เกินวัย

วัยทำงานช่วงที่ 2 (40 – 50 ปี)

ร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอย  ผิวหนังเริ่มมีริ้วรอย  ผมเริ่มน้อย   ไม่ค่อยมีพลัง  ช่วงเวลาที่อยากพักผ่อนหลังการทำงานมีมากขึ้น

วัยกลางคน (50 – 60 ปี)

สายตาเริ่มยาว  ระบบย่อยเริ่มมีปัญหา  ระบบขับถ่ายเริ่มแปรปรวน  ความดันเลือดชักจะสูง  มีอาการหงุดหงิด  ขี้โกรธ  ขี้โมโห  

วัยชราที่ 1 (60 – 70 ปี)

เริ่มจะชอบนอน  ไม่ค่อยอยากทำอะไร  แต่มักนอนไม่ค่อยหลับ  ปริมาณเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจลดลง  โรคหัวใจก็จะมาเยือน  ผลของการใช้ชีวิตผิดบ้างถูกบ้างในช่วงหนุ่มสาวจะมาแสดงผลในตอนนี้ชัดเจน

วัยชราที่ 2 (70 – 80 ปี)

ปอดอ่อนแอแล้ว  ร่างกายรับอ๊อกซิเจนได้น้อยลง  ป่วยบ่อย  เหี่ยวย่นไปทั้งตัว  แต่ถ้าใครอยู่มาได้จนถึงวัยนี้  ก็ต้องนับว่าสุขภาพกายและใจแข็งแรง  ใช้ชีวิตได้สวยงามสอดคล้องกับธรรมชาติมาเป็นอย่างดีทีเดียว

วัยชราที่ 3 (80 – 90 ปี)

ระบบต่าง ในร่างกายทำงานได้แค่ 20% ปอดไม่ค่อยอยากทำงาน  ภูมิต้านทานโรคไม่มี   น้อยคนที่จะอยู่มาจนถึงวัยนี้ได้  ส่วนใหญ่จะหมดอายุขัยกันตั้งแต่วัยที่ 2

วัยชราที่ 4 (90 -….ปี)

ถือว่าอายุยืนมากในยุคปัจจุบัน  ร่างกายของวัยนี้เริ่มเสื่อมสลายไปตามธรรมชาติ  เหมือนไฟที่เริ่มมอด  ระบบต่าง ทำงานแทบไม่ได้แล้ว  ทำอย่างไรก็เอาไม่อยู่

คำเก่าของจีนบทหนึ่ง กล่าวไว้ว่า

อายุ 80 ปีไม่ใช่เรื่องประหลาด  อายุ 90 ปีก็ยังไม่แก่  อายุ 100 ปีก็ยังหัวเราะฮ่าฮ่า  ทั้งชีวิตกินแต่ผัก  ถือศีล  ปฏิบัติธรรมชั่วชีวิต   ในโลกนี้ยังพอมี”   

การศึกษาค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์พบว่า  คนมีอายุยืนขึ้นเรื่อย   มนุษย์ยุคโบราณอายุเพียง 25 ปี  เท่านั้น  แต่ปัจจุบันคนมีอายุถึง 80 ปี  คนญี่ปุ่นปัจจุบันอายุขัยเฉลี่ย 85 ปี  และผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย  และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  คนจะมีอายุยืนถึง 100 ปีกันอย่างสบาย   ทั้งยังมีการคาดคะเนว่าสุดกระดานของอายุมนุษย์อาจถึง 150 ปีด้วยซ้ำ

ปัจจุบันอายุขัยของคนไทยเฉลี่ย  ผู้ชาย 71 ปี  ผู้หญิง 75 ปี

อ้างอิงข้อมูล : 

https://www.huachiewtcm.com/

http://www.wongkarnpat.com/

https://www.freepik.com/

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า