สุขภาพดีจากธรรมชาติห่างไกลโรคภัย อาหารเป็นยาตอนที่ 1

ประเทศไทยของเรา เป็นประเทศที่มีทรัพยากรและผลผลิตทางการเกษตรมากมาย เช่น พืชสมุนไพร ผักและผลไม้  ยังมีประโยชน์และสรรพคุณต่อสุขภาพ ทั้งเรื่องการต่อด้านหรือป้องกันโรค เสริมภูมิคุ้มกัน รวมถึงการรักษาโรคบางชนิดได้
ผักและผลไม้ใดบ้างที่มีสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรคที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ในผู้สูงอายุ 

1. สับปะรด – โรคกระดูกพรุน

สับปะรด เป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติในการช่วยย่อย คล้าย มะละกอ เพราะอุดมด้วย เอมไซม์โบรมีเลน ช่วยย่อยโปรตีนให้กลายเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ เอมไซม์ชนิดนี้สามารถย่อยอาหารได้ทั้งในสภาวะกรดและด่างเช่นเดียวกับเอมไซม์ปาเปนในมะละกอ จึงช่วยกำจัดสิ่งตกค้างในลำไส้ ไม่ให้หมักหมมจนเป็นสารพิษ
ในปัจจุบันมีการค้นพบประโยชน์ขอสับปะรดมากมาย ที่สำคัญคือ บำรุงกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง อาจเนื่องจากในสับปะรดมีแมกกานีสอยู่มาก เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและเอ็นของร่างกาย น้ำสับปะรดจึงเหมาะกับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต คนแก่กระดูกพรุน

2. ตำลึง – ลดน้ำตาลในเลือด

ตำลึง เป็นพืชเถาที่คนนิยมนำมาปรุงอาหาร ลวก ต้ม นึ่ง จิ้มน้ำพริก ]ลักษณะต้นตำลึง เป็นไม้ล้มลุกเช่นเดียวกับแตง น้ำเต้า ฟักข้าว ฟักแฟง ลำต้นเป็นเถาทอดเลื้อยไปตามดินและมีมือจับ (Tendril) คล้ายลวดสปริง เกาะปีนป่ายสิ่งที่อยู่ใกล้ เวลาถูกลมพัดจะแกว่งไกวไปมา ลำต้นอ่อนมีขนาดเล็กต้องอาศัยยึดเกาะ ในตำรายาพื้นบ้านของไทย มีการใช้รากตำลึงแก้ดวงตาเป็นฝ้า แก้โรคตา ดับพิษทั้งปวง แก้ไข้ทุกชนิด แก้เบาหวาน ส่วนของต้นใช้กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้นใช้รักษาเบาหวาน ส่วนของใบใช้แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน และผลใช้แก้ฝีแดง ในอินเดียและ บังคลาเทศจะใช้ส่วนของรากและใบในการรักษาเบาหวา


3. กล้วยน้ำว้าสุก – แก้ท้องผูก

กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ไทยที่ออกผลทุกฤดูกาล ราคาไม่แพงมาก บางบ้านยังมีต้นกล้วยเป็นของตัวเอง เก็บผลกล้วยน้ำว้ากินได้ตลอด ซึ่งจัดว่าเป็นความโชคดีด้านอาหารเพื่อสุขภาพเลยก็ว่าได้ เพราะกล้วยน้ำว้าสรรพคุณดีต่อสุขภาพมากพอตัวเลยล่ะ
กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีกากใยเยอะพอสมควร และยังเป็นผลไม้น้ำตาลต่ำ สามารถกินครั้งละ 2 ผลได้โดยที่ไม่ต้องกลัวอ้วน และหากจะกินกล้วยน้ำว้าแก้ท้องผูก ให้กินกล้วยน้ำว้าสุกกลาง ๆ ไม่งอมเกิน ไม่ห่ามเกิน ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง หรือก่อนนอนทุกวัน


4. ชาเขียว – โรคหัวใจ

ผลจากการวิจัยพบว่า ชาเขียวที่เราชอบดื่มกันนั้น มีคุณสมบัติที่จะสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจและความดันในเลือดสูงได้ เหตุเพราะสาระสำคัญอย่าง EGCG ที่ค้นพบในใบชาเขียว มีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่มาจากมลภาวะและสภาพแวดล้อมจากภายนอกที่เข้าสู่ร่างกายที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคที่มีผลต่อหัวใจ ไม่แปลกใจเลยใช่ไหมคะว่า ทำไมคนญี่ปุ่นถึงได้มีอายุยืนยาวกว่าคนชาติอื่น เพราะการดื่มชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจของพวกเขา ทำให้ส่งผลดีต่อหัวใจ และการเกิดโรคหัวใจก็น้อยลง


5. ลูกเดือย – ปวดตามข้อ

ในตำรายาจีน ลูกเดือยเป็นยาจีนชนิดหนึ่งที่สำคัญมากๆค่ะ หนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของลูกเดือยคือช่วยลดอาการปวดตามข้อได้ดี เหมาะกับคนที่ปวด บวม แดง ร้อนตามข้อต่างๆ ปวดเมื่อยตามตัว คนไข้โรคเก๊าท์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่อาการกำเริบ สามารถทานลูกเดือยต้มเปล่าๆได้เลย หรือหุงพร้อมกับข้าว หรือนำมาต้มดื่มทั้งน้ำและเนื้อค่ะ ปริมาณในการต้มประมาณ 30 กรัม


6. มะเขือพวง – แก้ไอ ขับเสมหะ

คนไทยเรารู้จักและกินมะเขือพวงมานานแล้ว มะเขือพวงทำให้กลิ่นรสของเครื่องจิ้มต่างๆ มีความพิเศษออกไปจากปกติ เรากินผลอ่อนมะเขือพวงโดยนำไปโขลกกับน้ำพริกปลาทู น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกหอยแมลงภู่ น้ำพริกไข่เค็ม และปลาร้าทรงเครื่อง หากใช้เป็นผักจิ้มนิยมทำให้สุกโดยการเผา ปิ้ง หรือย่าง พอให้ผิวกรอบหรือไหม้บางส่วน จะทำให้รสชาติดีขึ้น และผลนิ่มกว่าเมื่อยังดิบ หรืออาจนำไปลวกหรือต้มให้สุกก็ได้ นอกจากนี้ ใช้มะเขือพวงใส่แกงเขียวหวาน แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก ซุปอีสานและแกงเผ็ดอื่นๆ
มะเขือพวงมีสรรพคุณตามตำราแพทย์แผนไทยคือ ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนดี แก้ฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ฝีบวมมีหนอง


ที่มาของข้อมูล:

  1. https://www.opsmoac.go.th/amnatcharoen-article_prov-preview-431891791889
  2. https://science.srru.ac.th/kochasarn-files/files/9_160-gk7fDTOrZKD6Ekpj4vy4WQmyE2loiCUCg3MdQYRDs5RBMpjKOW.pdf
  3. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/35/iid/132440
  4. https://www.cochrane.org/th/CD009934/VASC_chaaekhiiywaelachaadamephuuepngkanorkhhawaicchaelahldeluued
  5. https://www.doctor.or.th/article/detail/10763

ที่มาของภาพ : freepik , shutterstock

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า