“กรดอะมิโน” สำคัญต่อกล้ามเนื้อผู้สูงวัยอย่างไร

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของผู้สูงอายุจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งกระบวนการทางธรรมชาตินี้เรียกว่า sarcopenia หรือ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย รวมถึงการใช้ชีวิต การทำกิจกรรมประจำวันของผู้สูงอายุหลายๆท่าน เช่น ออกไปนอกบ้าน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มหรือกระดูกหักได้อย่างมาก สิ่งนี้สามารถทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างไม่ค่อยเป็นอิสระ

อาการของผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย ได้แก่

  • ลุกนั่งลำบาก
  • ทรงตัวไม่ดี
  • หกล้มบ่อย ๆ
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ตั้งใจ
  • เพิ่มความเสี่ยงของภาวะกระดูกหัก ภาวะเปราะบาง
  • เหนื่อยง่ายจนจำกัดความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • คุณภาพชีวิตลดลง
  • อาจเกิดโรคซึมเศร้า
  • เพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ

กรดอะมิโน สำคัญอย่างไรต่อการรักษา อาการ  Sarcopenia

วิธีการรักษาอาการ Sarcopenia หรือ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย  นอกจากการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อแล้ว การโภชณาการที่ดีก็เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งนักโภชนาการได้แนะนำให้ ผู้สูงอายุ ให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง โดยเฉพาะโปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อ ปลา ไข่ และนม ที่มี กรดอะมิโน ซึ่ง

กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น มี 12 ชนิด
กรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด 9 ชนิด 
ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ต้องได้รับจากอาหาร

ได้แก่ ฮีสติดีน(Histidine) , ไอโซลิวซีน(Isoleucine) , ลิวซีน(Leucine) , ไลซีน(Lysine) , เมไทโอนีน(Methionine) , ฟีนิลอะลานีน(Phenylalanine) , ทรีโอนีน(Threonine) , ทริปโตเฟน(Tryptophan) , และวาลีน(Valine)

ที่มารูปภาพ : https://www.ajinomoto.com/

ซึ่งใน 9 ชนิดนี้ จะมีกรดอะมิโนสายโซ่กิ่ง (BCAAs) ที่มีส่วนช่วยสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ คือ  (วาลีน ลิวซีนและไอโซลิวซีน) ซึ่งเป็นกลุ่มกรดอะมีโนสำคัญในการประกอบเป็นโปรตีนในกล้ามเนื้อ ซึ่งให้ผลดังนี้

  1. เสริมสร้างกล้ามเนื้อ : ลิวซีน (Leucine) เป็นกรดอะมิโนที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างโปรตีนใหม่ในเซลล์กล้ามเนื้อ การรับประทาน BCAAs ที่มีสัดส่วนของลีซีนีนเพียงพอสามารถช่วยส่งเสริมการเพิ่มขนาดและพลังงานให้กับกล้ามเนื้อได้

  2. ลดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ: ไอโซลีซีนีน (Isoleucine) และ วาลีนีน (Valine) เป็นส่วนหนึ่งของกรดอะมิโนที่ช่วยลดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในผู้ที่เป็น sarcopenia โดยช่วยให้กล้ามเนื้อมีการซ่อมแซมและเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

  3. ป้องกันการเสื่อมสภาพ: BCAAs มีความสามารถในการป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่เกิดจากกระบวนการเสื่อมสภาพของร่างกาย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อภาวะ sarcopenia

  4. เพิ่มประสิทธิภาพการซ้อม: การรับประทาน BCAAs ก่อนหรือหลังการฝึกซ้อมอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมและช่วยให้ผู้ฝึกซ้อมสามารถเพิ่มกล้ามเนื้อได้มากขึ้น

ในบรรดา BCAAs ลิวซีนมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมการสร้างโปรตีนจากกล้ามเนื้อ นี่แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุควรบริโภคโปรตีนคุณภาพสูงที่อุดมไปด้วยลิวซีนเป็นประจำ เช่น ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ ปลา และไข่ เป็นต้น

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า “กรดอะมิโน” มีความสำคัญในการป้องกัน ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย หรือ Sarcopenia อย่างไร นอกเหนือจากการเลือกโภชนาการที่ดีแล้ว อย่าลืมออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การป้องกันและรักษาภาวะนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุขค่ะ


ที่มาข้อมูล :
https://www.bangkokhospital.com/content/muscle-wasting-in-the-elderly https://www.ajinomoto.com/th/amino-acids/amino-acids-for-healthy-ageing

ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า