เทคนิคป้องกันอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ

ถ้าให้สังเกตดีๆอาการท้องอืดเป็นปัญหาที่ประสบพบเจอได้ในทุกๆเพศทุกๆวัย ซึ่งถ้าหากมีอาการไม่บ่อยนานๆเป็นครั้งก็ยังถือว่าไม่น่าเป็นห่วง แต่ถ้าหากอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุบ่อยๆ มักเป็นอาการนำอย่างนึงของมะเร็งในช่องท้อง จึงต้องสังเกตและตรวจเช็คให้ดี มาดูกันค่ะว่าเทคนิคป้องกันอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

ทั้งนี้ปัจจัยในการทำให้เกิดอาการท้องอืด มี 2 ปัจจัยหลัก คือ 

  1. เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาจจะกินเร็วไป เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กินอาหารไม่ตรงเวลา หรือแม้แต่ความเครียดก็ส่งผลได้ด้วย

  2. ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีดังเดิมตามอายุที่มากขึ้น อาจจะเกิดจากฟันที่เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดเท่าอายุยังน้อย อาการเจ็บเหงือก เจ็บฟัน กระเพาะอาหารย่อยได้ไม่หมด 

ซึ่งอาการของอาหารไม่ย่อยจะมีลักษณะจุกเสียด แน่นท้อง รู้สึกไม่สบายท้องตั้งแต่บริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ มีอาการปวดท้องช่วงบน จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการแสบร้อนช่วงกลางอกหลังทานอาหาร

เทคนิคในการป้องกันอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ ต้องสังเกตร่างกายตัวเองก่อนลำดับแรก และปรับพฤติกรรมในการกิน

  1. สังเกตร่างกายตัวเอง ว่าอาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย มาจากอาหารที่กินเข้าไปหรือไม่ บางคนอาจจะแพ้น้ำตาลแลคโตสหรือน้ำตาลฟรุกโตส บางคนเกิดจากการกินอาหารย่อยยากทำให้เกิดแก๊สหมักหมมในลำไส้ หรือแม้แต่การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสายโมเลกุลสั้นก็จะย่อยยาก ทำให้ลำไส้เล็กทำงานหนัก รวมไปถึงจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล

  2. การปรับพฤติกรรมในการกิน ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นค่ะ ซึ่งคาร์โบไฮเดรตสายโมเลกุลสั้นย่อยยาก และส่งเสริมให้แบคทีเรียบางชนิดโตเร็วผลิตก๊าซในทางเดินอาหาร จนเกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องผูก และอาจท้องเสียได้

สำหรับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสายโมเลกุลสั้นย่อยยาก มีอะไรที่ควรหลีกเลี่ยงบ้าง เช็คลิสต์ตามนี้ได้เลยค่ะ

  • ผัก : กะหล่ำดาว , กะหล่ำดอก , แอสพารากัส , บีทรูท , กระเทียม , หอมใหญ่ , เห็ด , ถั่วหวาน , ถั่วลันเตา , พริกหวาน(เฉพาะสีแดง)
  • ผลไม้ : แอปเปิ้ล , ลูกแพร์ , ลูกพรุน , ลูกพีช , องุ่น , แตงโม , มะม่วง , ผลไม้ตะกูลเบอร์รี่ , ลูกฟิก , ลูกเกด
  • โปรตีน : นมและผลิตภัณฑ์จากนม , นมถั่วเหลืองจากถั่วเหลืองเต็มเมล็ด
  • ถั่ว ถั่วเหลือง : ถั่วเหลืองซีก , ถั่วแดง , ถั่วดำ , ถั่วขาว , ถั่วปิ่นโต , ถั่วซิคพี , เม็ดมะม่วงหิมพานต์ , ถั่วพิสตาชิโอ
  • ธัญพืช : ข้าวสาลี , จมูกข้าวสาลี , รำข้าวสาลี , ข้าวไรย์ , กราโนล่า , บาร์เลย์ , เมิสลี่ , แป้งเซโมนิลลา 
  • เครื่องปรุง : กลุ่มเครื่องปรุงที่มีกระเทียม , หอมใหญ่ และน้ำเชื่อมฟรุกโตส เช่น แยม , ซอสพาสต้า , ซอสดิป , ซอสสลัด
  • ความหวาน : น้ำตาลแอลกฮอล์ , น้ำเชื่อม 
  • เครื่องดื่ม : น้ำอัดลมและโซดา

นอกจากนี้พฤติกรรมที่ปรับยังช่วยป้องกันอาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุได้ด้วย คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป , กินอาหารให้ตรงเวลา , แบ่งอาหารกินเป็นมื้อเล็กๆหลายมื้อ , หากิจกรรมทำป้องกันความเครียด , หลีกเลี่ยงการทานอาหารก่อนเข้านอน 3 ชม.

สิ่งสำคัญคือการสังเกตร่างกายตัวเองว่า ถ้าหากปรับพฤติกรรมการกินแล้วยังมีอาหารอาหารไม่ย่อยอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจจะต้องดูอาหารที่เรากินว่ามีความเสี่ยงต่อการย่อยยากและควรงดอาหารเหล่านั้นหรือไม่ แต่ถ้าหากเป็นบ่อยครั้งผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดนะคะ


Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า