เรามีข้อแนะนำสำหรับการบริหารเงินก้อนสุดท้ายของชีวิต ดังนี้
- ควรคงเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ประมาณ 2 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อให้มีสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
- นำเงินบางส่วนไปแบ่งฝากประจำในระยะต่าง ๆ เช่น 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี โดยเลือกให้มีระยะเวลาครบกำหนดเหลื่อมกัน จะเป็นการบริหารสภาพคล่องและเพิ่มผลตอบแทนให้มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์
- ควรนำเงินส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ในระยะสั้นไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในระยะปานกลาง-ยาว
- ทางเลือกอื่น ๆ ในการลงทุน มีดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง เช่น สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ หุ้นกู้ของบริษัทเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่น่าลงทุนดังนี้
สถานบันจัดอันดับเครดิตนานาชาติ | สถาบันจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ | |||
Moody’s | S & P | Fitch | TRIS | Fitch (Thailand) |
Baa3 ขึ้นไป | BBB – ขึ้นไป | BBB – ขึ้นไป | BBB – ขึ้นไป | BBB – (Thai) ขึ้นไป |
- สำหรับผู้ที่มีความชำนาญในการลงทุนและยอมรับความเสี่ยงได้ อาจแบ่งเงินบางส่วน (สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินออมและเงินลงทุนทั้งหมด) ไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่เปิดโอกาสรับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น หุ้น และทองคำ เป็นต้น
- ควรติดตามข่าวสารและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของเงินออมและเงินลงทุนของคุณอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเงิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเงิน รวมถึงภัยทางการเงิน ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อปกป้องเงินทองของตนเองที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาตลอดให้พ้นจากมิจฉาชีพด้วย
นอกจากนี้ ต้องพยายามสะสางหนี้สิน เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อกองมรดกที่ตั้งใจจะเก็บไว้ให้ลูกหลานด้วย
ที่มาของบทความ: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.1213.or.th/th/moneymgt/retire/Pages/retire.aspx
รูปประกอบจาก: https://www.freepik.com