ภัยออนไลน์ ที่ผู้สูงอายุควรระมัดระวัง

ในยุคดิจิทัล ผู้สูงอายุหันมาใช้เทคโนโลยีกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ หรือการสื่อสารระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในปัจจุบัน มิจฉาชีพมักใช้ช่องทางออนไลน์ในการหลอกลวงผู้สูงเสียหาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ตกเป็นเป้าหมายเป็นพิเศษ เนื่องด้วยผู้สูงอายุบางท่านอาจมีความรู้ด้านเทคโนโลยีน้อย ไว้วางใจผู้อื่นง่าย และอาจมีเงินเก็บจำนวนมากเพราะในปัจจุบัน ดังนั้นผู้สูงอายุ ควรรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยห่างไกลจากมิจฉาชีพ

เพื่อเพิ่มความระมัดระวัง ไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ มีแบบไหนบ้างดังนี้ค่ะ

1. การหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์

รูปแบบการถูกหลอกที่เจอบ่อยๆ โพสต์ขายสินค้าถูกเกินจริง หลังชำระค่าสินค้าแล้วมิจฉาชีพอาจจะส่งสินค้าไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ หรือไม่ส่งสินค้าเลย ดังนั้นควรตรวจสอบข้อมูลร้านค้าให้ละเอียด ทั้งเว็บไซต์ เบอร์โทร และรีวิวจากลูกค้า หรือเปรียบเทียบราคาจากหลายๆร้าน

2. การหลอกลงทุน

โดยมิจฉาชีพจะเสนอผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงเกินจริง หลอกลวงให้ผู้สูงอายุหลงเชื่อและลงทุน ในช่วงแรกที่ลงทุนน้อยอาจจะมีการจ่ายผลตอบแทนให้จริงๆ โดยใช้เงินของนักลงทุนใหม่จ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุนเก่า ทำให้นักลงทุนเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนจริง และเพิ่มจำนวนเงินในการลงทุน

3. การหลอกให้รัก

โดยมิจฉาชีพจะสร้างโปรไฟล์ปลอมบนเว็บไซต์หาคู่หรือโซเชียลมีเดีย แล้วพยายามสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อถือกับเหยื่อ เพื่อหวังเอาทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น

4. การหลอกให้กลัว

เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะโทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เช่น ตำรวจ ธนาคาร หรือสรรพากร หลอกลวงให้ผู้สูงอายุเชื่อว่าตนเองกำลังมีปัญหาทางกฎหมาย , บัญชีธนาคารถูกแฮ็ก หรือ โทรมาแจ้งข่าวร้าย เช่น ลูกหลานประสบอุบัติเหตุ ถูกจับ หรือติดหนี้สินจำนวนมาก

5. การหลอกขายยาและอาหารเสริม

หลอกขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยา โดยโฆษณาเกินจริง อ้างว่าสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ซึ่งอาจไม่ได้ผลจริงและเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

6.การหลอกขายประกันสุขภาพ

โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนจากบริษัทประกันสุขภาพ เสนอเบี้ยประกันราคาถูก เงื่อนไขซับซ้อน กรมธรรม์ประกันไม่คุ้มครองตามที่แจ้งไว้ ดังนั้นก่อนซื้อประกันสุขภาพควรตรวจสอบข้อมูลของบริษัทประกันและตัวแทนให้ละเอียด เช่น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ประวัติการทำงาน และรีวิวจากลูกค้า ที่สำคัญควรปรึกษาบุตรหลานหรือคนใกล้ชิดก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ

7. การหลอกรับสวัสดิการผู้สูงอายุ

โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการที่ดูแลเรื่องบำนาญหรือสวัสดิการผู้สูงอายุ และขอข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัญชีธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน หรือขอให้โอนเงินเพื่อดำเนินการ ในบางกรณีจะส่งอีเมล หรือ SMS ที่ดูเหมือนมาจากหน่วยงานรัฐ โดยมีลิงก์ให้คลิกเพื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือดาวน์โหลดเอกสารที่มีมัลแวร์

ช่องทางออนไลน์ที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวง

  • โทรศัพท์: มิจฉาชีพจะโทรหาท่านโดยตรง หลอกลวงให้ท่านโอนเงินหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

  • ข้อความ SMS: มิจฉาชีพจะส่งข้อความ SMS หลอกลวงให้ท่านคลิกลิงก์ หรือโทรกลับไปหา

  • อีเมล: มิจฉาชีพจะส่งอีเมลปลอม หลอกลวงให้ท่านคลิกลิงก์ ดาวน์โหลดไฟล์แนบ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

  • โซเชียลมีเดีย: มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีปลอม แชร์ข้อมูลเท็จ หรือหลอกลวงให้ท่านโอนเงิน

  • เว็บไซต์: มิจฉาชีพจะสร้างเว็บไซต์ปลอม หลอกลวงให้ท่านใส่ข้อมูลส่วนตัว หรือโอนเงิน

สุดท้ายนี้ หากผู้สูงอายุท่านใด ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ และสำหรับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ บนเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หรือสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


ที่มาข้อมูล : https://www.facebook.com/royalthaipolice/posts/เตือน-7-ภัยออนไลน์วัยเกษียณ-ที่คนร้ายตีเนียนมาหลอกลวง-%EF%B8%8Fพลตตศิริวัฒน์-ดีพอ-รองโฆษ/876983617808263/

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า