โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบของผู้สูงวัย

ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  หรือผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป  โรคนี้เรียกว่า “ภัยเงียบ” เพราะบางครั้งผู้ที่เป็นโรคนี้อาจไม่มีอาการชัดเจนในระยะแรก แต่เมื่อโรคเป็นรุนแรงขึ้น ก็อาจทำให้เกิดการขาดระดับแร่ธาตุที่สำคัญในกระดูกและทำให้เกิดการหักโครงข้อ อักเสบข้อ และความเจ็บปวดที่รุนแรงได้

โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่กระดูกมีความเปราะบางและแตกหักง่าย เกิดจากความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ละมีการเสื่อมสลายของโครงสร้างภายในกระดูก  กระดูกสูญเสียแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญ ทำให้กระดูกบางลง โครงสร้างกระดูกผิดปกติ

อาการของโรคกระดูกพรุนแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้ดังนี้

  1. ระยะเริ่มต้น

มวลกระดูกจะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการอะไร ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นในผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือน และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ สามารถพบได้จากการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก เท่านั้น

2. ระยะกระดูกพรุนชนิดรุนแรง

กระดูกบางลง โปร่ง หักง่าย ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม บางท่านส่วนสูงลดลง กระดูกบางส่วนแตกหักได้ โดยเฉพาะข้อสะโพก ข้อมือ แม้ด้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย

ปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุน

1.ผู้สูงอายุ ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป

2. ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี (รวมถึงผู้ที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง)

3.ผู้ที่ได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานานทำให้มวลกระดูกบางลง เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ผู้ป่วยโรค SLE (โรคพุ่มพวง)ยาทดแทนธัยรอยด์ ยาป้องกันการชัก เป็นต้น

4.ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนปริมาณมากๆ เป็นประจำ

5. ผู้ที่มีอาการกระดูกหักจากกระดูกบาง

6.รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ รวมถึงทานอาหารที่มีโซเดียมสูง

ทั้งนี้แนะนำผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน หรือตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้งเพื่อเตรียมพร้อมการดูแลรักษา ก่อนที่จะมีอาการในระยะรุนแรงนะคะ


ที่มาของรูปภาพ : https://www.freepik.com/

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า