การดูแลผิวพรรณในผู้สูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในผู้สูงอายุ ผิวหนังทุกชั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติความสามารถในการหมุนเวียนทดแทนเซลล์ผิวหนังเก่าจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

เดิมผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจะมีการหลุดลอกและเปลี่ยนแปลงเซลล์ใหม่ทั้งหมดในเวลาเพียง 4 สัปดาห์ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น วงจรนี้จะยาวออกไปเป็น 2 เท่า ทำให้ผิวหนังมีลัษณะแห้งเป็นขุบมีสะเก็ดและหยาบ ซึ่งช่วงวัยรุ่นผิวจะค่อยข้างมัน พอเข้าสู่วัยกลางคนเส้นใยอีลาสติกเริ่มเสื่อมและลดปริมาณลงทำให้รูขุมขนขยายกว้างขึ้น เริ่มมีริ้วรอย และเมื่อถึงวัยสูงอายุ ริ้วรอยจะเห็นชัดขึ้น ผิวหนังหย่อนคล้อย มีร่องแก้ม ร่องใต้ตา สภาพผิวเปลี่ยน เป็นผิวแห้ง เป็นขุย และคัน เนื่องจากการเสื่แมสภาพของการทำงานของต่อมไขมัน ซึ่งผลิตไขมันน้อยลง ทำให้ความต้านทานของผิวต่อแสงแดด ลม ฝ้า อาหาศ อละแรงกระแทกเปลี่ยนแปลงไป เกิดอาหารแพ้สิ่งต่างๆ ได้ง่ายซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น พันธุกรรม รูปแบบการใช้ชีวิต และที่สำคัญที่สุด คือ การสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ใช้ผลิตภัฑณ์ป้องกันแสงแดดที่มีคุณมสบัติเหมาะสม

โรคผิวหนังในผู้สูงอายุ

กลุ่มโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่

  • ผิวแห้ง ผื่นคันจากอาการแพ้ เนื่องจากต่อมเหงือและต่อมไขมันเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ง่าย
  • ผิวหนังตกกระ เช่น กระเนื้อ กระนูน กระสีน้ำตาล
  • ผมร่วงและคันศรีษะ เกิดจากหนังศรีษะแห้งและการย้อมสีผม
  • มะเร็งไฝและมะเร็งผิวหนัง หากมีตุ่ม ก้อนเนื้อแผลเรื้อรัง หรือพบว่าไฝมีขนาดใหญ่ขึ้น สีเปลี่ยนมีอาหารปวดหรือมีเลือดออก ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการวินัจฉัยทันที

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อดูเเลผิวพรรณ

  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่ร้อนเกินไป
  • ผู้ที่ผิวแพ้มากอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้สบู่ถูตัว ไม่ควรขัดผิวและอาจจะลดการอาบน้ำลงเหลือเพียงวันละ 1 ครั้ง
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวที่มีค่าความเป็นกรด อยู่ที่ประมาณ 4.5-5.5
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดระหว่างวัน ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่เหมาะสมกับกิจวัตรประจำวันเพื่อปกป้องผิวจากแสงยูวี
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสภาวะเครียดที่อาจจำให้นอนไม่หลับ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-354-5222 หรือ แอดไลน์ @skinthailand

ผู้เขียน/เจ้าของบทความ : สถาบันโรคผิวหนัง


ที่มารูปภาพ : freepik
ที่มาของข้อมูล : ศูนย์นวัตกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

http://www.activeaginginnovation.dms.moph.go.th/index.php?module=article&action=view&id=55

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า