เคล็ดไม่ลับการดูแลผิวพรรณในผู้สูงอายุ

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุขึ้นสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงคือ ผิวหนัง เพราะด้วยอายุที่มากขึ้นการผลัดเซลล์ผิวหนังเก่าก็ย่อมน้อยลง และมีวงจรในการผลัดเซลล์ผิวที่ยาวนานขึ้น รวมไปถึงปัจจัยต่างๆรอบตัวที่ส่งผลให้ผิวมีการเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนครั้งยังหนุ่มสาว

ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผิวหนัง มีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในค่ะ โดยแบ่งให้ได้ดังนี้

1. ปัจจัยที่เกิดจากภายนอก

เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น การโดนแดด การเจอมลภาวะในแสงแดด ที่มีทั้ง UVA และ UVB สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการทำลายเซลล์ผิวหนังที่มีการสะสมมาเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ผิวหนังจึงเสื่อมสภาพลง

2. ปัจจัยที่เกิดจากภายใน

เป็นผลมาจากความเสื่อมของเซลล์ตามกาลเวลา เพราะว่าเซลล์มีการแบ่งตัวได้ช้าลง มีการซ่อมแซมผิวหนังใหม่ลดลง รวมถึงการเกิดอนุมูลอิสสระ ทำให้เกิดการสะสมของเสีย เกิดกลไกการทำลายเซลล์มากขึ้น

ทั้งนี้ด้วยอายุที่มากขึ้น ผิวหนังทุกชั้นย่อมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปกติผิวหนังชั้นกำพร้าจะใช้เวลาในการหลุดลอกผลัดเซลล์ผิวใหม่เป็นเวลา 4 สัปดาห์ แต่เมื่ออายุมากขึ้น การผลัดเซลล์ผิวเก่านั้นลดลง และยังลดความสามารถในสร้างเม็ดสี ลดความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ที่ผิว รวมไปถึงการลดความสามาถในการป้องกันเชื้อโรค ปัญหาผิวหนังที่เราจะเห็นได้ชัดเลยก็คือ ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย, เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นเนื่องจากชั้นหนังแท้บางลง ขาดความยืดหยุ่น รวมไปถึงสีผิวหมองคล้ำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ 

เคล็ดลับในการดูแลรักษาผิวพรรณในวัยสูงอายุ ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ที่ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้ และคนในครอบครัวสามารถช่วยป้องกันได้ มีดังนี้

  1. บำรุงรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ การกินอาหารที่มีประโยชน์ และย่อยง่าย รวมไปถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ

  2. ตรวจสุขภาพร่างกาย และตรวจสภาพผิวหนัง ปีละ 1 ครั้ง การตรวจผิวหนังด้วยก็จะช่วยให้ป้องกันและรักษาได้ทัน หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นมา

  3. หากมีตุ่มเนื้องอกที่ผิวหนังหรือมีแผลเรื้อรัง ควรรีบปรึกษาแพทย์

  4. ดูแลตัวเองไม่ให้มีการบาดเจ็บ เพราะหากมีแผลจะฟกช้ำและเป็นแผลง่าย หากเกิดการบาดเจ็บแผลก็จะรักษาให้หายได้ยากด้วย

  5. ถ้าหากมีอาการผิวแห้ง คัน ควรทาครีมที่มีมอยส์เจอร์ไรเซอร์ทุกครั้งหลังจากอาบน้ำ

  6. ทาแป้งฝุ่นบริเวณข้อพับ เพื่อลดการอับชื้อตามข้อพับต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย

  7. ควรใช้สบู่อาบน้ำที่มีส่วนผสมของไขมัน หากเป็นสบู่อื่นๆเช่นสบู่ยาก็อาจทำให้เกิดการแพ้ได้

  8. ควรอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรอาบบ่อยมากไป และไม่ควรใช้น้ำร้อนในการอาบน้ำ เพราะจะทำให้ผิวแห้งได้

  9. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แสงแดดจัดๆ และควรใช้ร่ม ใส่หมวก สวมเสื้อผ้าปกคลุมเพื่อลดการสัมผัสแสงแดดที่ทำร้ายผิว

นอกจากนี้ยังมีโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยๆในวัยผู้สูงอายุ ที่ควรรู้ไว้ มีดังนี้

  1. ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ตามอายุ ทั้งการสร้างคอลลาเจนและอลาสตินที่บริเวณผิวหนังลดลง การใช้ครีมหรือโลชั่นอาจจะช่วยได้ส่วนน้อย อาจจะใช้วิธีการศัลยกรรมหรือใช้เลเซอร์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ค่ะ

  2. อาการคันจากผิวแห้ง เกิดจากผิวแห้ง ขาดน้ำ ต่อมไขมันใต้ผิวผลิตน้ำมันลดลง ทำให้เกิดอาการคัน  ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆเพียงแค่ทาครีมที่มีความชุ่มชื้นเพียงพอ แต่ถ้าหากอาการคันยังมีต่อเนื่องควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

  3. ผื่นคันจากการแพ้ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวทั้ง ภูมิแพ้ หอบหืด สามารถรักษาด้วยการทายาสเตียรอยด์ได้ แต่หากเป็นในบริเวณกว้างการทายาสเตียรอยด์อาจไม่ครอบคลุม อาจพิจารณาใช้ยากลุ่มยาแก้แพ้แต่ต้องระวังผลข้างเคียงทางระบบประสาท

  4. ผิวหนังเปลี่ยนสี จุดด่างดำในผู้สูงอายุ เกิดจากการรวมตัวของเม็ดสีผิดปกติในผิวหนัง มักจะพบมากในครอบครัวที่มีประวัติผิวหนังเปลี่ยนสีมาตลอด ซึ่งอาการนี้ไม่มีอันตรายใดๆไม่ต้องรักษา 

  5. สิวในผู้สูงอายุ จะมีลักษณะสิวอุดตันหัวปิด เห็นเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ รวมตัวกัน หรือเป็นสิวหัวเปิดสีขาว โดยไม่ค่อยมีลักษณะการอักเสบ สามารถดูแลได้ด้วยการทำความสะอาดด้วยสบู่อ่อนวันละ 2 ครั้ง หรือพบแพทย์เพื่อใช้ยาทา

  6. กระเนื้อ จะมีลักษณะกลม รี นูน และมีสีเข้ม ซึ่งโดยทั่วไปไม่เป็นอันตรายไม่ต้องรักษา

  7. แผลและการติดเชื้อ เนื่องจากผิวผู้สูงอายุมีความเปราะบาง เกิดแผลได้ง่าย วิธีการดูแลคือทำความสะอาดแผล ป้องกันการติดเชื้อ 

  8. มะเร็งผิวหนัง เป็นโรคที่พบได้จากกรรมพันธ์และการถูกแสงแดด 

ทั้งนี้การดูแลผิวพรรณที่ดีต้องอาศัยระยะเวลาและการบำรุงดูแลที่สม่ำเสมอ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆริ้วรอย หรือการเหี่ยวย่นของผิวหนังก็จะเกิดขึ้นได้ช้าลง และหากปัญหาผิวพรรณเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ หรืออยากปรับสภาพผิว การหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการดูแลด้านผิวหนังก็จะช่วยได้ในส่วนนึงนะคะ


Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า