ผู้สูงวัยควรรู้ 8 อาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล

ในปัจจุบันพบว่าคนส่วนใหญ่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง หรือ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ สาเหตุหลักๆสำคัญมาจากอาหารการกินที่รับประทานเข้าไป ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารจึงเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สำคัญในการลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีให้มากขึ้น

เมื่อพูดถึง “คอเลสเตอรอล” ไม่ได้มีแต่ข้อเสียไปทั้งหมด จริงๆแล้ว คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

  1. คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ที่เป็นตัวการหนึ่งในการก่อโรคหลอเลือดและหัวใจ อย่างภาวะหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือดแดงตีบ เนื่องจากคอเลสเตอรอลชนิดนี้จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือดและทำให้เกิดการอุดตันได้

  2. คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยจะไปลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในหลอดเลือด จึงอาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจลดลง 

80% ของคอเลสเตอรอลไม่ได้มาจากอาหาร แต่มาจากการผลิตของตับ มีเพียง 20% ที่มาจากอาหารที่เราทานกันเข้าไป แต่การเลือกทานคอเลสเตอรอลดีมากกว่า ย่อมช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดี แข็งแรง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

อาหารลดคอเลสเตอรอลที่สามารถหาทานง่าย มีดังนี้

1. อโวคาโด 
อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว(monounsaturated fats) ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพหัวใจและช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)หรือไขมันดี นอกจากนี้ยังมีใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์และลดการอักเสบ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ

3. ธัญพืช 
โดยเฉพาะข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์ ที่อุดมไปด้วยสารเบต้ากลูแคน ที่มีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลรวมและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีนั่นเอง

2. กระเทียม 
กระเทียมไม่ได้มีดีแค่กลิ่นฉุนและรสชาติจัดจ้านเท่านั้น แต่ยังมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย เพราะมีสารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญในกระเทียมที่มีฤทธิ์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด 

4. ปลาที่มีกรดไขมันดี 
เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หรือปลาแมคเคอเรล โดยอาจช่วยลดระดับไตรกีเซอไรด์ ลดความดันโลหิต เพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดีให้มากขึ้น ทั้งนี้ควรเลือกวิธีปรุงอาหารด้วยการอบหรือการย่างแทนการทอด

5. โกโก้ 
อย่างดาร์ก ช็อกโกแลต จะมีสารฟลาโวนอยด์ที่อาจช่วยลดความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี รวมถึงเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี

6. ชา 
ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาดำ หรือชาขาว เนื่องจากในใบชาประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างสารคาเทชิน และสารควอซิทิน มีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

7. น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ 
มีสารอาหารที่สำคัญอย่างกรดไขมันดี ที่อาจช่วยเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดีและลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี

8. ถั่วเหลือง 
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อย่างน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง ยังอุดมไปด้วยโปรตีนจากพืช ซึ่งนอกจากไม่มีคอเลสเตอรอลแล้ว ยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดีให้มากขึ้น

นอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างพอเหมาะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันก็จำเป็นต่อการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเป็นประจำ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การงดสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีได้เช่นกันค่ะ


Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า