วันนี้เราจะมาแนะนำแนวคิดในการประมาณจำนวนเงินที่ต้องมีเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณกันค่ะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ
เงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ = ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ x 12 เดือน x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ
แนวคิดที่ 1: นำเงินออมมาใช้จ่ายหลังเกษียณ
ยกตัวอย่างเช่น หากประเมินว่าหลังเกษียณจะใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่จนอายุ 80 ปี
ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ = 25,000 บาท x 12 เดือน x 20 ปีหลังเกษียณ
= 6,000,000 บาท
** กรณีนี้จะเป็นการใช้เงินต้นให้หมดไปเรื่อย ๆ
แนวคิดที่ 2: นำดอกผลของเงินออมและเงินลงทุนมาใช้จ่ายหลังเกษียณ
เงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ = ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ x 12 เดือน
ประมาณการอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินออมและเงินลงทุนต่อปีในช่วงหลังเกณียณ (%ต่อปี)
ยกตัวอย่างเช่น หากประเมินว่าหลังเกษียณจะใช้จ่ายเดือนละ 25,000 บาท และคาดว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินออมและเงินลงทุนช่วงหลังเกษียณอยู่ที่ 6% ต่อปี
ดังนั้น จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ = (25,000 บาท x 12 เดือน) /6% ต่อปี
= 5,000,000 บาท
** กรณีนี้ เงินต้นจะยังคงอยู่ให้ออกดอกออกผลต่อไป
ที่มาของบทความ: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.1213.or.th/th/moneymgt/retire/Pages/retire.aspx
รูปประกอบจาก: https://www.freepik.com