5 โรคตาในผู้สูงอายุ ที่ควรระวัง!…มีอะไรบ้าง?

ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นตาก็จะยิ่งเสื่อมลง ซึ่งโรคตาในผู้สูงอายุที่ควรระวังมีหลายโรคที่อาจส่งผลต่อการมองเห็นและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และนี่คือ 5 โรคตาที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้

1. ต้อกระจก

ต้อกระจกเป็นสภาวะที่เลนส์ตาขุ่นมัว ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน คล้ายกับมองผ่านกระจกที่มีฝ้าหรือหมอก มักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการของต้อกระจก ได้แก่ มองเห็นไม่ชัด มัวลง เห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว แสงจ้าจะรู้สึกแสบตา สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา

2. ต้อหิน

เป็นโรคที่เกิดจากความดันภายในลูกตาสูงขึ้น ทำลายเส้นประสาทตา ส่งผลให้การมองเห็นเสื่อมลง อาจทำให้ตาบอดถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจเกิดในผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นต้อหิน หรือในผู้ที่สายตาสั้นมากๆ ป่วยเป็นเบาหวาน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุทางตามาก่อน

3. ต้อเนื้อ ต้อลม

เป็นภาวะที่เยื่อบุตาขาวโปนออกมาอาจขยายเข้าสู่กระจกตา ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตาเรื้อรัง เช่น การสัมผัสฝุ่นควัน แสงแดด

4. โรคเบาหวานขึ้นตา

โรคเบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายอันดับ 1 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ทำให้หลอดเลือดฝอยที่จอประสาทตาเสื่อมเสีย เส้นเลือดบางส่วนอาจอุดตันหรือโป่งพอง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงจอประสาทตาไม่เพียงพอ อาจทำให้จอประสาทตาเสื่อมจนสูญเสียการมองเห็นได้ ระยะแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อตรวจตาพบจุดเลือดออกที่จอตา หากมีอาการตามัวแสดงว่าเบาหวานขึ้นจอตาเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรต้องตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

5. โรคจอประสาทตาเสื่อม

เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียการมองเห็น เกิดจากภาวะที่จุดรับภาพที่อยู่ตรงส่วนกลางของจอตาเกิดการเสื่อมขึ้น ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง แต่บริเวณรอบข้างยังสามารถมองเห็นได้เป็นปกติ อาจเกิดจากการเสื่อมไปตามช่วงอายุที่มากขึ้น แสงยูวี การสูบบุหรี่ หรือมีระดับความดันโลหิตสูง ในระยะแรกอาจไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อจอตาเริ่มเสื่อมมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ และสูญเสียการมองเห็นตรงบริเวณกลางภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดร่วมด้วย

ดังนั้นหากผู้สูงอายุสงสัยว่าสายตามีความผิดปกติ แนะนำให้พบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจประเมินอาการ เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนที่จะมีอาการรุนแรง จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นนะคะ


ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/

Categories

บทความล่าสุด

Tags

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า