เมื่อเข้าสู่วัยที่สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ลดน้อยถอยลงกลับเป็นทางด้านร่างกายและจิตใจที่อาจจะไม่ได้สดชื่นสดใสเหมือนครั้งวัยหนุ่มสาว บางครั้งร่างกายอาจจะเสื่อมโทรมลงจนส่งผลกระทบหลายด้าน ผู้ดูแล คนใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตหากมีปัญหาด้านไหนที่ผิดปกติไปจากเดิม ควรมีความเข้าใจ ป้องกัน และดูแลได้ รวมไปถึงการปรึกษาคุณหมออย่างถูวิธี ก็จะทำให้สามารถดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพกายสุขภาพใจที่แข็งแรงขึ้นได้ด้วย
1. ปัญหาหกล้ม หรือพลัดตก
ปัญหานี้มักพบเจอได้บ่อยๆในวัยผู้สูงอายุ และจากผลสำรวจผู้สูงอายุมีอัตราการเสียชีวิตจากลื่นล้มได้ค่อนข้างเยอะ ดังนั้น สิ่งที่เราควรเตรียมรับมือและป้องกัน คือการจัดการเรื่องความสว่างในบ้าน และถึงผิวพื้นสัมผัสในแต่ละโซนของบ้าน เพื่อนป้องกันการลื่นล้ม ซึ่งคนในครอบครัวควรหมั่นสังเกตการทรงตัว การพยุงตัวของผู้สูงอายุ หากมีการอ่อนแรง ทรงตัวไม่ค่อยดีเหมือนเดิม อาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตและแก้ไขได้ทันเหตุไม่คาดคิด
2. ปัญหาหูตึง
บ่อยครั้งที่เรามักจะพบเจอการสื่อสารที่เข้าใจไม่ตรงกันของผู้สูงอายุกับบุตหลาน เพราะปัญหาของการเสื่อมประสาทหูตามวัย ดังนั้น หากพบว่ามีการสื่อสารที่พูดคุยกันแล้วได้ยิน หรือคุยไม่เข้าใจ ฟังได้ไม่ครบถ้วน ควรปรึกษาหาหมอให้ตรงจุด เพื่อจะได้แก้ไขได้ทัน ใส่เครื่องช่วยฟังหรือหาวิธีแก้อื่นๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุเองได้ยินและพูดคุยกับคนใกล้ชิด คนในครอบครัวได้อย่างมีความสุขและเข้าใจกันมากขึ้น
3. ปัญหาการหลงลืม
เรื่องนี้เรียกได้ว่าพบเจอในผู้สูงอายุค่อนข้างเยอะ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักเป็นภาวะหลงลืมจากโรคอัลไซเมอร์ วิธีสังเกตผู้สูงอายุที่มีปัญหานี้ มักจะมีอาการหลงลืมได้ง่าย มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึมเศร้า เมื่อพบเจอปัญหานี้ ควรพาผู้สูงอายุมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดและรักษาได้ตรงจุด
4. ปัญหาปัสสาวะเล็ด
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ส่วนใหญ่จะเกิดจากระบบทางเดินปัสสาวะที่เสื่อมลงตามอายุขัยที่มากขึ้น หากพบว่าผู้สูงอายุในบ้านมีอาการปัสสาวะเล็ดบ่อยๆ ควรพามาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เมื่อรักษาได้ตรงจุดก็จะช่วยอาการเหล่านี้ให้หายไปได้
5. ปัญหาการฉีดวัคซีน
ผู้สูงอายุจะมีการภูมิคุ้มกันที่ลดต่ำลงไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น ทำให้สามารถติดเชื้อโรคต่างๆได้โดยง่าย การฉีดวัคซีนจึงจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ แต่ควรฉีควัคซีนอะไรบ้างแนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ดีที่สุด
ทั้งนี้ปัญหาต่างๆที่เกิดกับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ แม้จะมีวิธีป้องกัน รักษา แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยเยียวยาจิตใจของผู้สูงอายุได้ดี คือความรัก ความเอาใจใส่ จากครอบครัวบุตรหลาน เพียงได้พบหน้ากัน พูดคุยสารทุกข์สุขดิบ ดูแลอย่างเข้าใจอ่อนโยน เท่านี้ก็เชื่อได้เลยว่าผู้สูงอายุจะเต็มไปด้วยความสุขในการใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายของชีวิตได้เป็นอย่างดีแน่นอน